top of page

Housing Development Handbook

คู่มือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย กรุงเทพมหานคร

วันที่อยู่อาศัยโลก กับ การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน


จากคำกล่าว "คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปี 2579” ของแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560- 2579) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่แสดงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิต โดยกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงและองค์กรปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษที่ถูกระบุหน้าที่ในการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย


จึงเป็นที่มาของ “คู่มือปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย กรุงเทพมหานคร” (Housing development handbook) ด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมกับบริบทของกรุงเทพมหานครแก่สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสำนักงานใหม่ภายใต้สำนักพัฒนาสังคมที่มุ่งดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อแก้ปัญหาความความยากจนและลดความเหลื่อมในการเข้าถึงสวัสดิการรัฐของชุมชนโดยเฉพาะ


ภายในคู่มือประกอบไปด้วยการทำความเข้าใจโครงสร้างและระบบการทำงานของกรุงเทพมหานคร เครื่องมือเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น การทำแผนที่และการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความสร้างความร่วมมือแบบ Public-Private Partnership (PPP) และเครื่องมือทางการเงิน รวมถึงคู่มือปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับกลุ่มเขต ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สะดวกต่อการนำไปใช้ และสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และการศึกษาบทเรียนจากกรณีศึกษาของต่างประเทศ


ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยจึงควรมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ควบคู่กับหน่วยงานอย่างสำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร สถาบันการศึกษาและภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะ ผู้มีรายได้น้อยในเมืองที่มักถูกหลงลืมจากการพัฒนา





สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้โดยกดปุ่ม "Download Now"



Read Preview

bottom of page