BMA x Frec Hackathon
Urban Studies Lab ได้จัดกิจกรรม "BMA x FREC Hackathon 2023" ภายใต้หัวข้อ Scale Our Impact ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2566
จากทีมผู้สมัครกว่า 40 ทีม สู่การคัดเหลือ 10 ทีมสุดท้ายเพื่อร่วมกิจกรรม Hackathon
Objective
เพื่อเสนอข้อเสนอแนะในการออกแบบและพัฒนาแนวทางการแก้ไขประเด็นปัญหาในกรุงเทพมหานคร
เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ภายในเมืองให้เกิดผลกระทบในทางบวก
IMPACTS
120
Participants
40
Proposal Submited
10
Projects Curated in BMA Project Bank
1
Community-Based Project Prototype
เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้นำเสนอข้อเสนอและออกไอเดียในการช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาของกรุงเทพมหานคร สู่การขยายผลการทำงานและการบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครผ่านแนวคิดห้องวิจัยเมืองหรือ City Lab โดยประกอบด้วย 5 ประเด็นปัญหาที่กรุงเทพฯ กำลังเผชิญ
Mobility and Transportation (ด้านระบบการสัญจรและการขนส่งมวลชน)
Housing and Urban Planning (ด้านที่อยู่อาศัยและการวางผังเมือง)
Education and Skill Development (ด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ)
Health and Wellbeing (ด้านสุขภาพและสุขภาวะ)
Environmental Resilience ด้านความหยืดหยุ่นทางสิ่งแวดล้อมในเมือง
ตลอดกิจกรรมทั้ง 3 วัน ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับความรู้ทั้งในส่วนภาคการบรรยายและการปฏิบัติผ่านการทำ Workshop ในการเรียนรู้การใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ที่จะช่วยวางแผนการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และได้รับการสนับสนุน บ่มเพาะจากทีมศูนยวิจัยชุมชนเมือง (Urban Stadies Lab) และ Rise impact รวมถึงได้รับคำแนะนำด้านการใช้ฐานข้อมูลภาครัฐจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยในการพัฒนาปรับปรุงโครงการของผู้เข้าร่วมทุกทีมให้สามารถผลักดันเป็นโครงการต้นแบบและเกิดขึ้นได้จริง
โดยในวันที่ 1 กรกฎาคม ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการทั้ง 5 ท่าน ประกอบด้วย
นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
ผศ. คมกริช ธนะเพทย์ กรรมการและอุปนายกฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ สมามสถานนิกผังเมืองไทย
อาจารย์วรัญญู เสนาสุ ประธานหลักสูตรการบริหารและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
คุณเจน ฮอลโลเวย์ Manager of IMG & China Ford Fund
นางสาวพิณ อุดมชัยเจริญกิจ กรรมการศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
รับฟังการนำเสนอโครงการ พร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมทั้ง 10 ทีม และร่วมตัดสินโครงการที่ชนะเลิศ ซึ่งจะได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการจากมูลนิธิฟอร์ด ฟันด์ จำนวน 250,000 บาท และเงินรางวัลจำนวน 25,000 บาท และได้รับเกียรติจากคุณศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติมอบรางวัลกับทีมที่ชนะเลิศและกล่าวปิดกิจกรรมพร้อมทั้งให้คำแนะนำในการพัฒนาต่อยอดโครงการของทุกทีมในอนาคต
โดยทีมที่ชนะเลิศ คือ ทีม OTEC (One Town Enterprise Consulting) กับโครงการ “กุฎีจีน ชุมชนต้นแบบสีเขียวที่ยั่งยืน (Kudi chin : Green and Gourmet) ” โครงการต้นแบบที่มุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการปัญหาขยะในชุมชน โดยเริ่มจากการทดลองทำในพื้นที่ชุมชนกุฎีจีน นำเปลือกไข่ที่เป็นขยะจากการผลิตขนมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน มาผ่านกระบวนการรีไซเคิล เพื่อให้เป็นบรรจุภัณฑ์ของชุมชนต่อไป โดยโครงการนี้มุ่งหมายที่จะขยายผลไปยัง 9 ชุมชนดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนและจัดการกับปัญหาขยะในชุมชนไปพร้อม ๆ กัน
จากกิจกรรม BMA x FREC Hackathon ในครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีไอเดียใหม่ ๆ ที่ใส่ใจในความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตของชุมชน และปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในเมือง อีกทั้งยังมีใจที่อยากจะพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในเมืองเป็นอย่างมาก ซึ่งแสดงออกผ่านการนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์อย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ ทางศูนยวิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมทั้ง 10 ทีม รวมถึงผู้ที่สนใจส่งข้อเสนอโครงการผ่านการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน ที่มาร่วมกันระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ของตนเอง กับทางศูนย์วิจัยฯ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อเมืองร่วมกันในอนาคตต่อไป