top of page

Community Garden

 Community garden project

‘โครงการสวนผักชุมชนจักรพรรดิพงษ์’

กว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ของเราถูกใช้กับ ‘อาหาร’ โดยเฉพาะสังคมเมือง ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตเป็น ‘ผู้บริโภค’ อย่างเดียว


Objective

USL Pillars scenario-15.png
  •  เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและทำให้คนเมืองอย่างเรามีความยืดหยุ่นต่อการขาดแคลนอาหารได้มากขึ้น พวกเรา– Urban Studies Lab (ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง) เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำสวนผักชุมชนผ่านการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ในเมือง จึงนำมาสู่กิจกรรมเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่อย่าง ‘โครงการสวนผักชุมชนจักรพรรดิพงษ์’

IMPACTS

1

Replicable Model


25

Participants

3

Outputs

3

Knowledge Sharing

‘ชุมชนจักรพรรดิพงษ์’ เพื่อนบ้านย่านนางเลิ้งของเรา มีลักษณะเป็นชุมชนแออัดและมีพื้นที่ใช้สอยน้อย ถึงอย่างนั้นพี่ๆ ในชุมชนสนใจปลูกผักนะ! เราจึงเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาชุมชนจักรพรรดิพงษ์ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบสวนผักชุมชนในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อทดลองทำสวนผักชุมชนในพื้นที่จำกัด ควบคู่ไปกับการอบรมพัฒนาทักษะการทำเกษตรในเมือง ฟังดูน่าสนุกใช่ไหมล่ะ ก็สนุกจริง! แถมยังได้สาระอีกนะ ตามไปอ่านกันเลย : )


ก่อนอื่น…เราขอเกริ่นถึงกระบวนการทำงานสักหน่อย ทีมวิจัยของ Urban Studies Lab เริ่มจากการสำรวจพื้นที่ ออกแบบวางแผนโครงการ และสอบถามความสนใจกับคุณลุงคุณป้าในชุมชน พวกเราได้ข้อมูลว่าพื้นที่บริเวณชุมชนจักรพรรดิพงษ์มีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ในการปลูกผัก จึงนำไปสู่การริเริ่มทำสวนแนวตั้งเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูก และได้เข้าไปติดตั้งใน 3 บริเวณ ได้แก่ บ้านป้าจิ๋ว บ้านป้าอ้อย และบ้านป้ากลม และแปลงผักคุณครูพร ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน


วางแผนกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว พวกเราก็กลับไปอีกครั้ง! ด้วยสองมือที่ไม่ว่างเปล่า….📖🍃 ตารางกิจกรรมแบบเน้นๆ เพราะเรามีเวิร์กชอปสวนผักชุมชนจักรพรรดิพงษ์ 2 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน

  • หนึ่ง เวิร์กชอปสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

เราให้เด็กๆ ในชุมชนได้ทำความรู้จักกับผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ และได้มีส่วนในการออกแบบแปลงผักของศูนย์ฯ รวมถึงได้ทดลองปลูกจริงด้วยนะ

.

  • สอง เวิร์กชอปการปลูกผักในพื้นที่จำกัดร่วมกับ PLANT:D

จากแบบสอบถาม พบว่าที่ผ่านมาคุณลุงคุณป้าปลูกผักแล้วรอดบ้างไม่รอดบ้าง เพราะยังไม่รู้วิธีปลูกที่ถูกต้อง รวมถึงชนิดของผักที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ทางเราจึงเชิญวิทยากรจาก PLANT:D เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปลูกผักในเมือง เข้ามาสอนวิธีการปลูกผักฉบับมือใหม่ โดยกิจกรรมทั้ง 5 สัปดาห์มีเนื้อหาสนุกๆ ได้แก่

  • การปรุงดินสำหรับเพาะเมล็ด การหมักดินสำหรับปลูกผัก

  • การทำจุลินทรีย์บำรุงผักจากของเหลือใช้ในครัว การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

  • การทำสมุนไพรไล่แมลงอย่างง่าย 

  • การเพาะเลี้ยงเห็ด

  • การย้ายกล้าผัก การพรวนดินใส่ปุ๋ย

  • การออกแบบแปลงผักรวม ทำค้าง สวนแนวตั้ง และย้ายกล้าผักลงแปลงรวม


จบเวิร์กชอปแล้ว พวกเราศูนย์วิจัยชุมชนและทีมวิทยากร ยังคงติดตามการปลูกผักของพี่ๆ ชุมชนต่อประมาณ 1 เดือนพร้อมช่วยปรับปรุงพื้นที่และทำสวนแนวตั้งเพิ่มเติมในชุมชน


หลังจากเวิร์กชอปการปลูกผักในพื้นที่จำกัดร่วมกับ PLANT:D พวกเราพบว่า

  • คุณลุงคุณป้าในชุมชนได้มีพื้นที่ในการพูดคุย แลกเปลี่ยน แบ่งปัน และโชว์ผักที่ปลูกกันในทุกสัปดาห์อย่างสนุกสนาน แต่ละคนรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมาก

  • ชุมชนจักรพรรดิพงษ์มีความเหมาะสมกับ ‘สวนแนวตั้ง’ เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด บางบ้านก็เหมาะกับการเพาะต้นอ่อนเพราะไม่โดนแดด บางบ้านก็เหมาะกับการปลูกผักสวนครัวเพราะโดนแดดตลอดเวลา 

  • แม้การปลูกผักในชุมชนจะยังไม่สามารถสร้างรายได้ แต่ทำให้ชุมชนได้แบ่งปันผลผลิตซึ่งกันและกัน เกิดความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น 

  • การเลี้ยงเห็ดในชุมชน ต้องทำให้มีความชุ่มชื้นตลอดเวลา ควรตั้งไว้ภายในบ้านเพื่อหลักเลี่ยงแสงแดด

  • อุปสรรคที่เราอาจคาดไม่ถึงระหว่างการทำงาน นั่นคือ ‘แมว’ ซึ่งชอบขึ้นมานอนบนแปลงผักและขับถ่าย จึงต้องปรับปรุงดินที่เสียหายจากแมว และคลุมตาข่ายกันแมว

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการสวนผักชุมชน สามารถแบ่งออกเป็น 4P: 4 ด้านที่สอดคล้องกับพันธกิจของศูนย์วิจัยชุมชนเมือง ได้แก่

  • นโยบาย (Policy)

  • เกิดพื้นที่ต้นแบบสวนผักชุมชนในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

  • เกิดคู่มือการปลูกผักในชุมชน 1 ชุด

  1. กระบวนการ (Process)

สมาชิกในชุมชนสามารถเรียนรู้การปลูกผักในชุมชนได้

สร้างความตระหนักรู้ในประเด็นการทำสวนผักในเมือง ได้รับความสนใจจากผู้คนหลายวัย เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

ลดรายจ่ายในครัวเรือน มีศักยภาพในการเกิดเป็นช่องทางสร้างรายได้ต่อไป รวมถึงการขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ

เด็กๆ ในชุมชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักเบื้องต้น และมีพื้นที่ทดลองปลูกผักในชุมชน

คุณครูได้ผลผลิตจากแปลงผักนำไปประกอบอาหารกลางวันให้เด็กๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

  1. ผู้คน (People)

  • จำนวนผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน มีเด็กๆ จำนวน 20 คน คุณครู 1 คน

  • จำนวนผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปการปลูกผักในพื้นที่จำกัดร่วมกับ PLANT:D มีสมาชิกในชุมชนจักพรรดิพงษ์สนใจจำนวน 5 คน โดยเป็นผู้สูงอายุในชุมชน

  1. สถานที่ (Place)

  • เกิดพื้นที่สวนผักแนวตั้งในชุมชนทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ บ้านป้าจิ๋ว บ้านป้าอ้อย และบ้านป้ากลม และพื้นที่แปลงผักบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง สามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

สรุปผลโครงการ


กระบวนการ

ผลผลิต

ผลลัพธ์

1

สำรวจพื้นที่และออกแบบวางแผนโครงการ

แผนโครงการสวนผักชุมชนจักรพรรดิพงษ์

ความเข้าใจบริบทของพื้นที่ และความเป็นไปได้ของโครงการ

2

ลงพื้นที่สอบถามความสนใจในการเข้าร่วมโครงการ

มีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามก่อนทำเวิร์กชอป 1 ครั้ง

ความเข้าใจความต้องการของชุมชนเกี่ยวกับการปลูกผักในชุมชน รวมถึงพันธุ์พืชที่สนใจปลูก

3

ติดตั้งสวนแนวตั้งเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูกผักในชุมชน

- บ้านป้าจิ๋ว

- บ้านป้าอ้อย

- บ้านป้ากลม

พื้นที่สวนผักแนวตั้งในชุมชนทั้งหมด 3 แห่ง

ชุมชนจักรพรรดิพงษ์มีความเหมาะสมในการจัดทำสวนแนวตั้งเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด และเหมาะกับการปลูกต้นอ่อนมากกว่าต้นกล้า เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ

4

เวิร์กชอปสวนผักชุมชนจักรพรรดิพงษ์

1. เวิร์กชอปสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

2. เวิร์กชอปการปลูกผักในพื้นที่จำกัดร่วมกับ PLANT:D

เวิร์กชอปสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

- จำนวนผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน มีเด็กๆ จำนวน 20 คน คุณครู 1 คน

เวิร์กชอปการปลูกผักในพื้นที่จำกัดร่วมกับ PLANT:D

- จำนวนผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปการปลูกผักในพื้นที่จำกัดร่วมกับ PLANT:D มีสมาชิกในชุมชนจักพรรดิพงษ์สนใจจำนวน 5 คน โดยเป็นผู้สูงอายุในชุมชน

เวิร์กชอปสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

  • เด็กๆ สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักเบื้องต้น และมีพื้นที่ทดลองปลูกผักในชุมชน

เวิร์กชอปการปลูกผักในพื้นที่จำกัดร่วมกับ PLANT:D

  • สมาชิกในชุมชนสามารถเรียนรู้การปลูกผักในชุมชนได้

  • มีผลผลิตจากการเพาะปลูกเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

  • มีศักยภาพในการขยายผลการปลูกผักให้เกิดเป็นช่องทางสร้างรายได้ต่อไป รวมถึงการขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ในอนาคต

  • สร้างความตระหนักรู้ในประเด็นการทำสวนผักในเมือง

  • ได้รับความสนใจจากผู้คนหลายวัยเกี่ยวกับการปลูกผักในเมือง

  • เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชน โดยมีผู้เกี่ยวข้องเป็นศูนย์วิจัยชุมชนเมือง และทีมวิทยากรจาก PLANT:D เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

5

ติดตามผลการผลิตและการปลูก 

สื่อการประชาสัมพันธ์และแนะนำกิจกรรม 2 ชุด โดยมียอดเข้าชมรวมทั้งหมด 1,419 คน (นับวันที่ 2 เมษายน 2567)

พบอุปสรรคระหว่างการทำงาน

1. แมวทำลายแปลงผัก วิธีแก้คือเปลี่ยนรูปแบบของสวนใหม่ มีตะแกรงกั้นแมว

2. ชุมชนปลูกเห็ดไม่ขึ้น ชุมชนถอดใจ สรุปก็เลยเลือกที่จะไม่ปลูกเห็ด เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่เหมาะสมกับชุมชนมากกว่า

3. บางครัวเรือนไม่มีเวลาดูแลแปลงผัก ฝากคนอื่นรดน้ำให้

6

วิเคราะห์พื้นที่และแนวทางในการพัฒนาโครงการต่อ

แผนพัฒนาโครงการต่อ โดยอาจขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียง เพื่อสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับผู้สูงอายุ ร่วมกับ FREC Bangkok (ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม)

ความเข้าใจในการพัฒนาสวนแนวตั้งในชุมชนต่อๆ ไป


นอกจากนี้ ยังมี ‘คู่มือสวนผักชุมชน: รวมเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผักมีการเจริญเติบโตที่ดี แข็งแรง’ โดยทาง Urban Studies Lab เป็นผู้จัดทำ และเนื้อหาโดย PLANT:D เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับผู้ที่สนใจเริ่มต้นปลูกผัก อ่านง่าย เข้าใจง่าย มีภาพประกอบด้วยน้า

 

พวกเรา Urban Studies Lab มีแนวทางในการพัฒนาโครงการต่อ โดยอาจขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียง เพื่อสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับผู้สูงอายุ ร่วมกับ FREC Bangkok (ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ต่อไป 🧺🥬



bottom of page