Learning City
การยกระดับและการพัฒนาย่านแห่งการเรียนรู้ผ่านกลไกห้องวิจัยมีชีวิต ห้องเรียนเมือง และกระบวนการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา พื้นที่รอบคลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานคร
Objective
สร้าง และพัฒนากลไกการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รอบคลองผดุงกรุงเกษม
เพื่อผลิต แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดองค์ความรู้ และพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้เมือง (Urban Learning Space)
พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเมืองจากชุมชน และระบบคลังข้อมูลโครงการ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่สองฝากฝั่งริมคลองดุงกรุงเกษมตั้งแต่ท่าเรือเทเวศร์ถึงท่าเรือสี่พระยา
IMPACTS
209
Participants
20
Projects curated in Project Bank
7
SMEs formed Entreprenuer Network
5
Knowledge Sharing
ชุดโครงการนี้เป็นการวิจัย และพัฒนาโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน
เพื่อสร้างกลไกให้เกิดการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน และให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมุ่งสู่การเป็นชุมชนเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน การเรียนรู้เมืองผ่านห้องเรียนมีชีวิต (Living Lab) ด้านการเรียนรู้เมืองและการทดลองนวัตกรรมในพื้นที่จริง ผ่านกระบวนการวิจัยที่สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลักคือ
Living Lab and Urban Classroom ที่มีขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดพื้นที่ศึกษา และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การWorkshop ระหว่างกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน การสำรวจ สืบค้นข้อมูล และกำหนดกิจกรรมแลกเปลี่ยน การจัดกิจกรรม Urban Classroom ไปจนถึงการจัดกิจกรรม Urban Learning Day และ
Participatory Budgeting ที่มีขั้นตอนตั้งแต่กิจกรรมบรรยายประเด็น Participatory Budgeting กิจกรรม Participatory Budgeting Workshop การ Workshop Participatory Budgeting เพื่อให้กลุ่มเครือข่าย และผู้วิจัยเข้าใจถึงประเด็นปัญหาในพื้นที่ และทดลองดำเนินกิจกรรมในพื้นที่จริง และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และภาคการศึกษาตามกรอบคิดของการทำงานแบบบูรณาการแบบจตุภาคี ที่จะนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชากรหลายภาคส่วนในแบบขึ้นภายในพื้นที่ศึกษา
โครงการนี้จะนำข้อมูล องค์ความรู้ ช่องทางการสื่อสาร โครงการ และเครือข่ายความร่วมมือ และ ที่เกิดขึ้นและรวบรวมได้ในขั้นตอน Living Lab and Urban Classroom มาสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหา/พัฒนาพื้นที่ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบของ Participatory Budgeting ที่นอกจากจะเป็นการสร้างกลไกในการเรียนรู้ภายในพื้นที่แล้ว ยังเป็นการนำองค์ความรู้และข้อมูลในรูปแบบต่างๆมาช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ควบรู้กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในพื้นที่ ที่แม้จะสิ้นสุดโครงการแล้ว จะยังคงมีฐานข้อมูลที่ทุกภาคส่วนในพื้นที่สามารถนำไปใช้งาน เพื่อในท้ายที่สุดจะสามารถสร้างกลไกในการพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO และเป้าหมายการพัฒนา SDGs 4 ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ และ 11 สร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัยในกรุงเทพมหานครในพื้นที่ 6 เขต คือ เขตปทุมวัน เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก และป้อมปราบศัตรูพ่าย