top of page

Manholes cover design

เมืองเดินได้ของคุณเป็นอย่างไร?

“การเดินที่ดีก็ควรจะน่าสนใจนะ”

“ฟุตบาทก็มีไว้ใช้แค่เดินหรือเปล่า มันใช้ทำอย่างอื่นได้อีกหรอ”

“สะอาดและมีเสน่ห์ เป็นพื้นที่ที่ฉันสามารถพาคุณตามาเดินเล่นได้ค่ะ”

Objective

USL Pillars scenario-15.png

มีจุดประสงค์สําคัญเพื่อเชื่อมโยงย่านและผู้คน ผ่านพื้นที่แห่งการเรียนรู้รอบคลองผดุงกรุงเกษม ด้วยกระบวนการมีส่วนรวมและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และ ภาคการศึกษา



IMPACTS

20

Children from Communities

19

Manhole Design

2

Communities Involved

3

Knowledge Sharing

บทสัมภาษณ์ผู้คนริมทางเท้าตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมนำไปสู่ การตั้งคำถามและการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการการเรียนรู้เรื่องเมืองกับผู้ที่ใช้งานพื้นที่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงานออกแบบที่สามารถเปลี่ยนให้ฟุตบาทเป็นได้มากกว่าแค่ทางเท้าให้คนเดินผ่าน แต่สามารถสร้างประโยชน์เชิงสังคม และส่งเสริมการออกแบบเมืองอย่างมีส่วนร่วม (participatory planning) ในขณะที่งานวิจัยเรื่องความเดินได้ของเมืองมักถูกจำกัดด้วยการศึกษาเชิงสถิติในโลกวิชาการ หรือถูกตรีตราว่าเป็นแขนงการศึกษาวิจัยที่เป็นนามธรรมและเข้าใจยาก การเดินได้ของเมือง (urban walkability) นั้นยังคงเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่ชีวิตในเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และในยุคของสังคมผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญของนักออกแบบและวิจัยด้านเมืองยังคงสะท้อนกลับมาถึงแง่มุมเล็ก ๆ ของชีวิตคนเมืองอย่างการเดินเท้า

ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab: USL) ได้จัดกิจกรรมออกแบบฝาท่อร่วมกับน้อง ๆ นักเรียนจากโรงเรียนบำรุงอิสลามวิทยาและมูลนิธิ The Hub สายเด็ก ในหัวข้อ “คลองของฉัน เมืองในฝัน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์ทางเท้าในพื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อสร้างพื้นที่เชิงสังคมในย่านนางเลิ้ง และสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์ และได้ส่งต่อภาพวาดฝีมือของน้อง ๆ ไปยังนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม จนออกมาเป็นฝาท่อที่ส่งเสริมและสนับสนุนการออกแบบ วางแผน และพัฒนาเมืองที่ตระหนักถึงผู้คนและความหลากหลายในเชิงค่านิยมและความคิด ผ่านการออกแบบฝาท่อที่สร้างเรื่องราวและมอบสีสันให้กับการเดินเท้าในเมือง 

USL และกลุ่มเมืองยิ้มชื่อว่าฝาท่อเป็นได้มากกว่าเพียงสิ่งปิดท่อระบายน้ำ แต่ยังสามารถสร้างสีสันและประโยชน์ในเมืองในการสนับสนุนกับพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วม และการออกแบบเมืองอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วม ทั้งนี้ การพานักเรียนและน้อง ๆในชุมชนกลับไปเดินชมและทำกิจกรรมในพื้นที่โครงการยังช่วยเสริมสร้างความผูกพันธ์และความภูมิใจกับพื้นที่ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์ในระยะยาวอีกด้วย

เชิญชวนทุกคนมาร่วมตามหารอยยิ้มที่ถูกซ่อนไว้อยู่มากกว่า 70 รอยตลอดพื้นที่โครงการกว่า 4 กิโลเมตรตามแนวริมคลองผดุงกรุงเกษม

bottom of page