top of page

Smart city City Data & City Index

โครงการที่มุ่งมั่นอยากจะพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็น “เมืองอัจฉริยะ” ผ่านการพัฒนาจากพื้นฐานสำคัญอย่าง “ฐานข้อมูลเปิด” ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปสู่การบริหารจัดการเมืองที่ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 

Objective

USL Pillars scenario-15.png
  • พัฒนาฐานข้อมูลเมืองเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาและออกแบบนโยบายสาธารณะ

  • ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอบรม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้งานจริง ในการบริหารจัดการเมือง 

  • ออกแบบและจัดทำดัชนีชี้วัด และตัวประเมินผลความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในเมือง เพื่อให้เกิดการติดตามและประเมินผล นำไปสู่พัฒนาเมืองที่ยั่งยืน

IMPACTS

14

Partners

95

Participants

13

Outputs

1

Open Data Platform


โครงการที่มุ่งมั่นอยากจะพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็น “เมืองอัจฉริยะ” ผ่านการพัฒนาจากพื้นฐานสำคัญอย่าง “ฐานข้อมูลเปิด” ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปสู่การบริหารจัดการเมืองที่ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 


วัตถุประสงค์ 

  • พัฒนาฐานข้อมูลเมืองเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาและออกแบบนโยบายสาธารณะ

  • ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอบรม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้งานจริง ในการบริหารจัดการเมือง 

  • ออกแบบและจัดทำดัชนีชี้วัด และตัวประเมินผลความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในเมือง เพื่อให้เกิดการติดตามและประเมินผล นำไปสู่พัฒนาเมืองที่ยั่งยืน 


ภายใต้วัตถุประสงค์เหล่านี้ Urban Studies Lab ทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลางที่จะเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดใช้ข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจ (data-driven decision making) 


กระบวนการทำงาน - ขับเคลื่อนกลไก ให้เกิดการใช้งานจริง 


ด้วยบทบาทการเป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการใช้ฐานข้อมูลมาสนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มต้นจากการศึกษาจากผู้ใช้งานข้อมูล โดยเริ่มต้นจาก “การเปิดเวทีหารือถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น” เพื่อศึกษาความต้องการและพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้จริง รวมถึงศึกษาดัชนีชี้วัดต่าง ๆ ที่ปัจจุบันได้ใช้งานอยู่ถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการใช้งานดัชนีเหล่านี้ รวมถึงศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานเหล่านี้ เพื่อนำไปออกแบบกระบวนการที่จะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ข้อมูลได้จริงต่อไปได้



 

โดยหน่วยงานภาครัฐที่หารือร่วมกัน คือ กลุ่มสำนักงานเขตทั้ง 7 เขต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตพระโขนง และเขตดุสิต สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.)

สำนักวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กรุงเทพมหานคร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa Thailand) รวมถึงหน่วยจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ RISE IMPACT และ Urban Ally  


จากการศึกษาประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงการศึกษาความต้องการของเจ้าหน้าที่รัฐแล้วนั้น Urban Studies Lab จึงได้นำประเด็นที่ได้รับมาใช้วิเคราะห์และออกแบบแนวทางการแก้ไขประเด็นปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานข้อมูลเมืองในปัจจุบัน พบว่า ข้อมูลยากต่อการนำไปใช้งานต่อ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการส่งต่อข้อมูลที่ยังไม่ “ไร้รอยต่อ” จากประเด็นต่าง ๆ ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงนั้น นอกจากการออกแบบฐานข้อมูลแล้ว การออกแบบกลไกการใช้งาน รวมถึงการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการสามารถเข้าถึงได้อย่างไร้รอยต่อ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการนำไปสู่ การเป็นเมืองอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร 


ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 ปี Urban Studies Lab ได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อพัฒนากลไก ที่จะสามารถนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะได้จริง โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาทั้ง 2 ส่วนหลัก คือ 

“ระบบฐานข้อมูลเปิด” และ “กำลังคน” เพื่อให้ทั้งสองสิ่งนี้สามารถสนับสนุนการทำงานของกันและกัน และนำไปสู่การเกิดการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในการบริหารจัดการของภาครัฐอย่างแท้จริง  


พัฒนาระบบฐานข้อมูลเปิด “Urban Common Source”

การมีฐานข้อมูลส่วนกลางเพื่อใช้ร่วมกันอย่างไร้รอยต่อระหว่างภาครัฐ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของโครงการนี้ Urban Studies Lab จึงได้ร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านพื้นที่ (บพท.) และกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนา “ฐานข้อมูลเมืองแบบเปิด” ที่จะสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลระหว่างภาครัฐในแต่ละหน่วยงาน รวมไปถึงการเปิดข้อมูลให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ และนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของภาคเอกชนต่อไปในอนาคต 


Urban Common Source เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลจากภาครัฐที่สำคัญต่อการจัดการบริหารเมืองในด้านต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อของข้อมูลอย่างไร้รอยต่อและเป็นฐานข้อมูลเมืองแบบเปิด ที่ลดความซับซ้อนในการที่จะต้องทำเรื่องขอข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ ลง เพื่อให้การบริหารจัดการงานต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยมีข้อมูลเป็นหลักฐานอันเป็นประจักษ์ในการตัดสินใจ  


การมีฐานข้อมูลส่วนกลางเพื่อใช้ร่วมกันอย่างไร้รอยต่อระหว่างภาครัฐ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของโครงการนี้ Urban Studies Lab จึงได้ร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านพื้นที่ (บพท.) และกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนา “ฐานข้อมูลเมืองแบบเปิด” ที่จะสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลระหว่างภาครัฐในแต่ละหน่วยงาน รวมไปถึงการเปิดข้อมูลให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ และนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของภาคเอกชนต่อไปในอนาคต 


นอกจากการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำเป็นฐานข้อมูลเมืองแล้ว Urban Common Source เองยังมีฟังก์ชัน ในการติดตามดัชนีชี้วัดความน่าอยู่ของเมือง (Livablility Index) ของกรุงเทพฯ โดยเราได้พัฒนาดัชนีขี้วัดเมืองน่าอยู่นี้ ร่วมกับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพัฒนาดัชนีให้สามารถใช้ได้จริงในบริบทของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเราได้พัฒนาจากกรอบการติดตามการพัฒนาเมืองของโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่เรียกว่า Urban Monitoring Framework ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย UN-Habitat เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงการประเมินความน่าอยู่ของเมือง จากประเด็นที่มีความหลากหลายและมีความครอบคลุมถึงเพื่อชี้วัดสถานการณ์และปรากฏการณ์ในเมือง ซึ่งมุ่งเน้นในการชี้วัดถึงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายและติดตามการพัฒนาเมืองอีกด้วย 





 

กลไกสนับสนุนให้เกิดการใช้งานจริง 


เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในการบริหารจัดการของภาครัฐขึ้นจริง เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดกลไก ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการของสำนักงานเขตต่าง ๆ  สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล และมีข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้ Urban Studies Lab จึงได้จัดทำหลักสูตร “Training for Trainer” หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้งานข้อมูลและใช้งานดัชนีชี้วัดการพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

รวมถึง ส่งเสริมศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง และให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม 


นอกจากนี้ เรายังมีการจัด City Forum/Hackathon เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบบูรณาการ รวมถึงเราได้จัดตั้ง “ธนาคารโครงการ (Project Bank)” เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมโครงการที่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม การศึกษา และประชาชนสามารถนำไปใช้งานต่อยอดได้ในอนาคต




เชื่อมโยงความร่วมมือเพื่อขยายผล


ในระยะยาว เรามีแผนการขยายผลหลังสิ้นสุดโครงการวิจัย โดยเริ่มจากการขยายผลฐานข้อมูลเมือง ร่วมกับสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง เพื่อให้ข้อมูลที่เข้าสู่ฐานข้อมูลมีความถูกต้อง และครอบคลุมในหลากหลายมิติมากขึ้น ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงพัฒนาให้ Urban Common Source สามารถเป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลเมือง ร่วมกำหนดมาตรฐานการนำเข้าข้อมูล เครื่องมือ การนำเข้าข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองได้


ในด้านการขยายผลดัชนีเมืองน่าอยู่ (UMF) เรายังคงมุ่งมั่นที่จะต่อยอดการจัดทำดัชนีร่วมกับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และสภาพัฒน์ฯ โดยนำไปประยุกต์ใช้ในระดับพื้นที่ และพัฒนาให้กรอบแนวคิด UMF เพื่อเป็นเครื่องมือวัดผลลัพธ์การพัฒนาเมืองที่ตอบรับกับสถานการณ์และบริบทของกรุงเทพมหานครต่อไป และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินวัดผล ไปคาดการณ์และวางแผนอนาคตของเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


นอกจากเรื่องของฐานข้อมูลเมืองและดัชนีชี้วัดแล้ว ขาดไม่ได้เลยก็คือ การพัฒนากลไกที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้งานจริง โดยเราจะขยายผลไปในพื้นที่เขตอื่น ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่จะเข้าร่วมในการนำเข้าข้อมูล และใช้ข้อมูลบนฐานข้อมูลเมืองนี้ร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ และนำไปสู่การบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพจากการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญหลักของการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็น 

“เมืองอัจฉริยะ” ต่อไป 



bottom of page