top of page

Summer LAB Yale-NUS

โครงการการเรียนรู้ข้ามพรมแดนที่มีชื่อว่า “เมืองเท่าเทียมเพื่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี” หรือ  “Equitable City for Health and Well-being LAB (Learning Across Boundaries)” ที่ Urban Studies Lab ได้จัดขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัย Yale-NUS College จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 12 มิถุนายน 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักศึกษาจาก Yale-NUS College ทั้งหมด 11 คน

Objective

USL Pillars scenario-15.png

USL มีจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามพรมแดนภาคฤดูร้อนในครั้งนี้ คือการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อการพัฒนาเมือง การส่งต่อองค์ความรู้ทั้งในรูปแบบ Top-down และ Bottom-Up การสร้างกลไกการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเมืองอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการใช้ข้อมูลที่มีหลักฐานอย่างเป็นประจักร (Evidence-based) ในการบ่งชี้ถึงปัญหา และการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำในการแก้ไขปัญหา 

IMPACTS

4

Solutions / Recommendations

13

Participants

12

Partners

4

Beneficiary Communities

การเรียนรู้ข้ามพรมแดนถือเป็นความท้าทายอย่างมากในการส่งต่อความรู้ให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเข้าใจถึงบริบทปัญหา สภาพแวดล้อม และอัตลักษณ์ของกรุงเทพอย่างแท้จริงในระยะเวลาอันสั้น แต่น้อง ๆ นักศึกษาจาก Yale NUS College นั้น สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีเยี่ยม และได้รับคำชมจากเจ้าหน้าที่จากสำนักอนามัยฯ สำนักพัฒนาสังคม และตัวแทนรองปลัดกรุงเทพมหานคร


โครงการนี้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากต่างแดนได้ รู้จักกรุงเทพในมุมมองของผู้อาศัย ทำให้จุดประกายไอเดียในการพัฒนาพื้นที่ เกิดการแบ่งปันมุมมองการพัฒนาเมืองหลากหลาย จากมุมมองของนักศึกษาที่มาจากหลากหลายสาขาวิชา ในครั้งนี้ได้ทำการลงศึกษาพื้นที่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยมีผู้นำชุมชนของแต่ละชุมชนเป็นผู้นำเดินและตอบคำถาม จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่

  1. ชุมชนจักรพรรดิพงษ์ 

  2. ชุมชนวัดแคนางเลิ้ง

  3. ชุมชนวัดโสมนัส

  4. ชุมชนมัสยิดมหานาค


มากไปกว่านั้น นักศึกษายังมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมที่ศูนย์บริการสาธารณะสุข 20 เขตป้อมปราบฯ เพื่อศึกษาระบบการส่งความช่วยเหลือโครงสร้างขององค์กร และเปิดพื้นที่เพื่อการถามตอบ (Q&A) ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจกันมากๆ คือเรื่องการมีอาสาสมัครสุขภาพ (อสส.) ในแต่ละชุมชน ซึ่งแตกต่างจากระบบการส่งความช่วยเหลือด้านสุขภาพในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองการจัดการบริหารด้านสาธารณสุขที่เป็นประโยชน์อย่างมาก 


หลักสูตรโครงการ

โดยตลอดหลักสูตร ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ถึงกระบวนการการพัฒนาชุมชนและเมือง ผ่านการฟังบรรยายจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ทำงานจริงในประเด็นต่าง ๆ การลงชุมชนเพื่อเรียนรู้ปัญหาจากต้นตอ และรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการทดลองเสนอแนะโครงการ (Project-based learning) ร่วมกับนักวิจัยจาก Urban Studies Lab ที่จะคอยเป็นผู้ให้คำแนะนำในการจัดทำโครงการต่าง ๆ โดยในหลักสูตรจะประกอบไปด้วย 


  1. การบรรยาย หัวข้อ มหานครแห่งสุขภาพ: กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร (Healthy Metropolitan: A Case Study of BMA) โดย รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  2. การอบรม – User Empathy and Design Thinking โดย อาจารย์ พิณ อุดมเจริญชัยกิจ รองผู้อำนวยการ USL และสำนักเลขาธิการ FREC

  3. การเรียนรู้เครื่องมือ – การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data Collection and Analysis) โดย ดร. พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ กรรมการ FREC, ผู้อำนวยการ USL

  4. การบรรยาย หัวข้อ Urban Governance for Health and Well-being โดย อาจารย์ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์

  5. การบรรยาย หัวข้อ ข้อค้นพบโครงการสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรกลุ่มเปราะบาง: กรณีศึกษา (Findings on Health and Well-being Projects for Vulnerable Population: case study) โดย ดร. นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส ด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

  6. การบรรยาย หัวข้อ ข้อค้นพบเกี่ยวกับนวัตกรรมเชิงพื้นที่เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Space-Based Innovation for Health and Well-being) โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum)

  7. การบรรยาย หัวข้อ การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Develop policy recommendation) โดย ดร. พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ กรรมการ FREC, ผู้อำนวยการ USL

  8. Mentoring session ร่วมกับมูลนิธิสติ (Sati Foundation) ในหัวข้อ สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงจากมุมมองขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (At-risk youth through a non-profit organization perspectives) โดย คุณเสกสรร รวยภิรมย์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสติ, ผู้ประกอบการเพื่อสังคม 


จากกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาด้านสาธารณสุขและความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยกัน 4 โครงการ 

  1. Economic Empowerment for Sustainable Growth: Fostering Healthier Communities in Bangkok by Tanisha Naqvi, Shenali Nimanthini Wijesinghe, Ivy Liao Yen-Wen

  2. Nang Loeng: Involving Youth in Community Healthcare by Rinko Kawamoto, Samantha Seah Man Ru, Bekzod Normatov

  3. Leveraging Digital Self-Assessment tools to raise awareness on preventive health for working adults in Bangkok by Xinyi Huang, Miguel Inigo Regollo Concha

  4. WWW: Workshops with Women by Reneez Felix, Kyla Teo Kai Le, Nicole Quah


โดยสามารถอ่านรายละเอียดโครงการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้จากรายงานผลการดำเนินโครงการได้ที่ USL Library


โครงการการเรียนรู้ข้ามพรมแดนในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้นำเสนอ แนวทางการพัฒนาเมืองจากมุมมองใหม่ ๆ และอาจเป็นโอกาสที่ดีที่กรุงเทพฯ จะสามารถนำแนวคิดและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปปรับใช้ต่อได้ แผนพัฒนาในการแก้ไขปัญหาทั้ง 4 รูปแบบนั้นเกิดขึ้นมาได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 8 วัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอย่างมากของการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ข้ามพรมแดน Equitable City for Health and Welling LAB นี้ มากไปกว่านั้นผู้เข้าร่วมยังให้ feedback กลับมาว่าหลักสูตรนี้ได้สร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนาเมืองในชีวิตจริงที่อาจพบเจอปัญหาจากหลากหลายด้านและแง่มุม 


bottom of page