ในบทความที่แล้ว ผู้อำนวยการของ USL ได้เล่าถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมือง บทความในวันนี้จึงเล่าถึงการใช้ “เกม” เป็นเครื่องมือในการมีส่วมร่วมกับการพัฒนาเมือง
เกมถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร สื่อการเรียนการสอน สื่อการฝึกอบรม เครื่องมือเพื่อช่วยเหลือในการออกแบบ ฯลฯ เกมไม่ใช่แค่สิ่งทีเล่นเพื่อความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ใช้เพื่อลองผิดลองถูกในสิ่งที่ไม่สามารถเสี่ยงทำในชีวิตจริงได้
เกมยังสามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการมีส่วนร่วมกับการออกแบบเมือง โดยที่ยังสนุกและน่าสนใจอีกด้วย เช่น เกมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอเมริกาที่สอนให้ผู้เล่นเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดผังสีการใช้ประโยชน์ที่ดิน สัดส่วนพื้นที่ใช้ประโยชน์อาคารหรือ Floor Area Ratio (FAR) หรือการจำกัดความสูงอาคารด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่เข้าใจได้ค่อนข้างซับซ้อนสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย แต่การเรียนรู้ผ่านเกมจะทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นจะเข้าใจสิ่งที่เกมพยายามจะสอนเราได้ ก็ต้องผ่านการเฉลย (Debriefing) เพราะจะทำให้ผู้เล่นเข้าใจความหมายและข้อดีข้อเสียของการกระทำต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในการเล่นเกมนั้น ๆ
เกมจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้พัฒนาเมืองแห่งอนาคต 4.0 ได้ มีศักยภาพที่จะสร้างผลลัพธ์มากกว่าการติดกล้องวงจรปิดหรือระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายจากใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด รวมไปถึงทำให้ชีวิตของคนเมืองง่ายขึ้นและสร้างความตื่นรู้แก่ประชาชน
อ่านบทความเต็ม ๆ ได้ที่ https://medium.com/@pongp.../city-building-game-81626d1c9d28
Comments