"Do you know Fried Banana in Nang Loeng ?" The identity of Fried-Banana shops in the Nang Loeng community is the usage of different apron colors such as red white blue pink green and purple to identify different shops. They also have developed a unique sale strategy which is the on-road selling during the traffic jam or red traffic light. These strategies combining with the quality of the fried bananas made these business become attraction and thrived in the area. Nowadays we can see that these businesses are facing economic slowdown. This content explores the current situation and suggests several options that could bring the glory back to these local businesses. The piece is written by Narabordee Joomchai ,our intern from Department of Geography, Chiang Mai University.
ดั้งเดิมจากการที่มีชื่อเสียงทำให้มีคู่แข่งมาเปิดขายเพิ่มขึ้นและเพื่อให้เข้ากับสังคมปัจจุบันกล้วยทอดนางเลิ้งได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือวิธีการขายจากที่ขายแค่หน้าร้านได้มีการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าด้วยการขายแบบขายพวงมาลัยคือไปเร่ขายบนท้องถนนถ้าลูกค้าอยากซื้อก็เปิดกระจกรถกล้วยทอดจะส่งตรงถึงมือโดยไม่ต้องจอดรถข้างถนนเพื่อไปซื้อ
ความเป็นเอกลักษณ์ในการขายกล้วยทอดของชุมชนนางเลิ้งโดยวิธีการขายที่ใส่เอี่ยมหลากสีสันต่างกันไปเช่นแดงขาวน้ำเงินชมพูเขียวและม่วงเป็นต้นเพื่อทำให้รู้ว่าเป็นเจ้าไหนเนื่องจากมีผู้ขายหลายรายทำให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาย่านชุมชนนางเลิ้งเห็นเป็นที่สะดุดตาเป็นที่บอกต่อมีชื่อเสียงมากขึ้นทำให้ขายดีเป็นอย่างมากจึงเกิดปัญหาตามมาจากวิธีการขายจนต้องมีมาตรการออกมาแก้ปัญหานั้นผู้ที่ขายกล้วยทอดได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจึงเป็นที่น่าสนใจว่าการขายกล้วยทอดนี้จะหายไปจากชุมชนนางเลิ้งหรือไม่ในอนาคตกล้วยทอดนางเลิ้งมีจุดเริ่มต้นจากแค่แผงขายกล้วยทอดเล็กๆในตรอกแคบๆใกล้สี่แยกจักรพรรดิพงษ์เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเดิมทีนั้นในตรอกมีร้านกล้วยทอดของ“ แม่กิมยุ้ย” เป็นผู้บุกเบิกจากนั้นก็มี“ แม่กิมล้ง” มาขายแทนที่รสชาติอร่อยเป็นที่เลื่องลือนานกว่า 40 ปีจนเมื่อแม่กิมล้งเสียชีวิตลูกสะใภ้และเครือญาติก็ได้แยกย้ายมาเปิดร้านขายกล้วยทอดของตัวเองโดยต่างใช้คำว่า“ เจ้าเก่าดั้งเดิม” จนหลายคนก็สงสัยว่าที่จริงแล้วเจ้าไหนกันแน่ที่เป็นเจ้า
มาวิเคราะห์ซึ่งเป็นหลักการทางเศรษฐศาสตร์ที่หมายถึงจำนวนของผู้บริโภคที่ต้องการที่สามารถทำให้ธุรกิจคำเนินต่อไปได้โดยกล้วยทอคถือว่าเป็นสินค้าที่ระดับการทรงตัวต่ำที่ไม่ได้ต้องการจำนวนผู้บริโภคมากเนื่องด้วยกล้วยทอดมีต้นทุนไม่สูงมากราคาไม่แพงทุกคนเข้าถึงง่ายมีขายอยู่ทั่วไปและถือเป็นอาหารซึ่งอาหารถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันจากสถานการณ์ปัจจุบันถ้าหากใครเป็นผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือเป็นผู้ที่จะสามารถทนอยู่ในสภาวะนี้ได้นานที่สุดก็ยังจะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้กล่าวคือเมื่อมีผู้ประกอบการหรือผู้ที่นำกล้วยทอดไปขายต่อปิดตัวลงหรือเลิกทำไปจำนวนหนึ่งเนื่องจากทนต่อสภาวะไม่ได้ก็จำทำให้ลดจำนวนคู่แข่งทางการค้าลงจนทำให้อีกฝ่ายที่ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าแทนมีจำนวนผู้บริโภคอยู่ในระดับทรงตัวที่ทำให้ร้านขายกล้วยทอดในนางเลิ้งยังคงอยู่โดยที่จำนวนลดน้อยลงและจากการนำทฤษฎีแหล่งกลาง (Walter Christaller, 1933)
หากยังเลือกที่จะทำต่อและอยากจะรักษาเอกลักษณ์นี้ต่อไปจะมีวิธีการอย่างไรในการทำให้กิจกรรมทางการค้ากล้วยทอดนี้ไม่หายไปจากชุมชนนางเลิ้ง ในสถานการณ์ปัจจุบันบริเวณพื้นการขายกล้วยทอดของชุมชนนางเลิ้งค่อนข้างเงียบเหงายังไม่มีกลยุทธ์หรือวิธีการขายใหม่เกิดขึ้นทางผู้เขียนจึงได้วิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นของร้านขายกล้วยทอดโดยการวิเคราะห์ของผู้เขียนเมื่อนำหลักการในเรื่องของหลักการทรงตัว (Berry and Garrison, 1958)
จากการขายแบบนี้ทำให้เกิดการจราจรติดขัดบนท้องถนนจนทางสภากรุงเทพมหานครได้มีมติให้จัดระเบียบผู้ค้ากล้วยทอดในพื้นที่ไม่ให้กีดขว้างการจราจรที่มีการเร่ขายบนถนนโดยทางเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้ออกมาคุมเข้มพื้นที่ขายกล้วยทอดและติดป้ายประกาศ“ ห้ามจอดรถซื้อหรือขายกล้วยทอดบนท้องถนน” โดยใครที่ฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรักษาความ * สะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพุทธศักราช 2535 (TNN ช่อง 16, 2561) โดยผู้ซื้อถูกปรับไม่เกิน 500 บาทส่วนผู้ขายปรับไม่เกิน 2, 000 บาททำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ขายกล้วยทอดบริเวณชุมชนนางเลิ้งเป็นอย่างมากเพราะไม่สามารถออกมาขายได้ด้วยวิธีการเดิมทำให้ผู้ขายมีรายได้ลดลงจากหน้าร้านโดยปัจจุบันทางร้านกล้วยทอดก็ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการขายไปตามกฎหมายโดยการยืนขายตรงริมทางเดินเท้าแทนหากมีผู้ลดกระจกและควักมือเรียกจึงค่อยวิ่งลงไปขายแล้วกลับมายืนริมทางเดินเท้าดังเดิม เนื่องด้วยมีผู้ขายมากรายและไม่สามารถกลับไปขายได้ด้วยวิธีเดิมที่สร้างรายได้ที่มากกว่าประกอบกับการหวังผลประโยชน์ของผู้คนจำนวนหนึ่งโดยการพยามลดต้นทุนทำให้คุณภาพของกล้วยทอดลดลงจนอาจทำให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อกล้วยทอดลดน้อยลงทำให้มีรายได้จากการขายกล้วยทอดลดลงเป็นอย่างมากจนทำให้ผู้ขายกล้วยทอดบางเจ้าค่อยๆปิดตัวลงเพราะแบกรับต้นทุนไว้ไม่ไหวจึงเป็นที่น่าสนใจว่าการขายกล้วยทอดนี้จะหายไปจากชุมชนนางเลิ้งหรือไม่ในอนาคตด้วยความที่มีการขายกันมาอย่างยาวนานและปรับเปลี่ยนวิธีการขายจนเป็นเอกลักษณ์จนทำให้มีชื่อเสียง
มาวิเคราะห์บริเวณพื้นที่ชุมชนนางเลิ้งมีตลาดที่เป็นแหล่งกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า (ในปัจจุบันเป็นตลาดที่เน้นขายอาหารจำนวนมาก) ที่ให้บริการกับคนในชุมชนและบริเวณโดยรอบชุมชนที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการที่มีผู้คนจำนวนมากเข้ามาทำงานในพื้นที่ทำให้ตลาดนางเลิ้งสามารถดึงดูดผู้คนเหล่านั้นให้เข้ามาในพื้นที่ได้จำนวนมากเช่นเข้ามากินข้าวเที่ยงในตลาดกิจการร้านกล้วยทอดอาจจะต้องย้ายทำเลที่ตั้งไปยังตลาดนางเลิ้งหรือเพิ่มวิธีการเร่ขายในพื้นที่ตลาดนางเลิ้งเพื่อสร้างฐานลูกค้าให้มีจำนวนมากขึ้นกิจการจึงจะอยู่ต่อไปได้และยังทำให้ไม่ส่งผลต่อการจราจรด้วย
พระเจ้าช่วย กล้วยทอด นางเลิ้งด้วย!!!
Text and photo: นรบดี จูมชัย
Source: Kaittirat Jindamanee. (2560). กล้วยทอดนางเลิ้งเงินล้าน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://taokaemai.com/ (29 พฤษภาคม 2562) Trawell. (2559). ท้ า พิ สู จ น์ ก ล้ ว ย ท อ ด ย่ า น น า ง เ ลิ้ง ! . [ร ะ บ บ อ อ น ไ ล น์]. แหล่งที่มา:http://trawellthailand.com/th/friedbanana-power-ranking/ (29 พฤษภาคม 2562) TNN ช่อง 16. (2561). ร้ านกล้วยทอด ย่านนางเลิ้ง เตรียมปิ ดตัว หลังถูกคุมเข้มห้ามขายบนถนน. [ระบบ ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=sIB4sivpBuk (29 พฤษภาคม 2562)
Comments