top of page
Writer's pictureprai wong

05. People age, society shift. วัยเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน

Our last article in the community at crossroad theme and our first one in Thai!! The author, Pitchaya H., summarized how we could deal with the future ageing society in the Thai context!! Apart from focusing on funding and policy, the solutions could include empowering the elders in our community


จากโครงสร้างทางประชากรของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้หลายชุมชนในกรุงเทพมหานครได้เข้าสู่สังคมสูงวัยและกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ถึงแม้ว่าเรื่องสังคมสูงวัยจะไม่ใช่เรื่องใหม่เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2548แล้ว แต่สาเหตุสำคัญที่นักวิชาการหลายท่านเป็นกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยเนื่องมาจากสัดส่วนผู้สูงอายุที่เรียนสูง (เรียนจบมัธยมศึกษาหรือสูงกว่า) ในประเทศไทยนั้นมีเพียง12% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่แตกต่างจากประเทศอื่นในทวีปเอเชียที่เป็นสังคมสูงวัยอย่างมาก นอกจากนี้สภาพแวดล้อมของหลายๆชุมชนในประเทศไทยยังไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นชุมชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นลักษณะของสังคมเมือง(Urban Society) คนในชุมชนอยู่กันอย่างสันโดษไม่มีปฏิสัมพันธ์หรือมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆที่กล่าวมานี้มีผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุ


การเข้าสู่วัยสูงอายุถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต (Life Transition) ผู้สูงอายุหลายท่านประสบกับภาวะความเครียด อาการเหงา ฯลฯ ซึ่งล้วนมีผลต่อสภาพจิตใจและสภาพร่างกาย ผู้สูงอายุจึงควรมีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเหมาะสม (Healthy transition processes) ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงประเด็นที่ตัวผู้เขียนรู้สึกสนใจเป็นพิเศษ นั่นคือ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างคนต่างวัย



การพบปะสังสรรค์ การเข้าสังคมมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุหลายท่านชอบที่จะรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ และในจำนวนนี้มีอีกหลายท่านที่ต้องการแค่เพียงจะออกจากบ้านเพื่อมาพูดคุยกับผู้อื่นถึงแม้ว่าเราจะพบเห็นผู้สูงอายุจำนวนมากชอบรวมตัวกับคนในวัยเดียวกัน แต่การมีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างวัยก็มีความสำคัญเช่นกัน International Consortium for Intergenerational Programs ได้ชี้ให้เห็นว่าการได้พบปะ พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกันของคนต่างวัย ช่วยให้ผู้สูงวัยมีความนับถือตนเองเพิ่มขึ้น ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพิ่มการสื่อสารกับสังคม ลดความทุกข์ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุให้เข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวัยในกลุ่มเด็กๆอีกด้วย จากการที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ได้เข้าไปพูดคุยและสัมภาษณ์คนในชุมชน เป็นที่น่าสนใจว่ามีผู้สูงอายุจานวนไม่น้อยที่มีความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกับคนต่างวัย ต้องการที่จะแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ที่ตนมีให้กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคุณป้าข้าราชการเกษียณที่เรียนจบ

จากต่างประเทศ อยากใช้ความรู้ที่มีสอนสิ่งต่างๆให้กับคนที่ต้องการ หรือคุณลุงที่มีเชื้อสายจีน อยากสอนภาษาจีนให้กับเด็กในชุมชน



คำตอบของการรับมือกับชุมชนสูงอายุอย่างเหมาะสมนั้น จึงอาจไม่ใช้การหาเงินงบประมาณหรือการออกนโยบายต่างๆเข้ามาสนับสนุนเสมอไป แต่อาจเป็นการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้เข้ากับบริบทพื้นที่ชุมชนนั้นๆเพื่อเอื้อให้ผู้สูงอายุได้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่และยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หรือการจัดสรรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชน หรือสภาพแวดล้อมเช่นสถานที่ สร้างเครือข่ายชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพากันและกันและมีความสุขในช่วงบั้นปลายของชีวิต



อ้างอิง

1. มูลนิธีสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557).รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557.สืบค้นเมื่อ 2

พฤศจิกายน 2560, สืบค้นจาก http://thaitgri.org/?p=36746.

2. Scobie, J., Asfour, L., Beales, S., Gillam, S.J., McGeachie, P., Mihnovits, A., Mikkonen-Jeanneret,

E., Nisos, C., Rushton, F. and Zaidi, A., (2015). Global AgeWatch Index 2015: insight report. HelpAge

International.

3. Schumacher, K. L., Jones, P. S., & Meleis, A. I. (1999). Helping elderly persons in transition: a

framework for research and practice. School of Nursing Departmental Papers , 10, 1-26

4. Henkin, N. Z., United, G., & Patterson, T. (2017). Intergenerational Programming in Senior

Housing: From Promise to Practice. Retrieved January 8, 2017.

_Report.pdf

5 views0 comments

Comments


bottom of page