ที่ผ่านมา แม้ว่าเมืองจะเติบโตไปมากแค่ไหนแต่ ‘ชุมชน’ กลับไม่เคยได้เป็นผู้นำในการวางแผนเมือง ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของพื้นที่ และได้รับผลกระทบโดยตรง ทำให้บ่อยครั้งเรามักจะตั้งคำถามต่อแนวทางการพัฒนาเมืองว่าสามารถแก้ไขปัญหา และเข้ากับบริบทของชุมชนนั้นได้จริงหรือ ? ...ในเมื่อ ‘เสียงจากชุมชน’ นั้น ส่งไปไม่ถึงกระบวนการวางแผนเมืองของพวกเขา . . ในฐานะของนักออกแบบเมืองที่ดี เราจึงต้องปรับ รับฟัง และเรียนรู้ ‘เสียงจากชุมชน’ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองที่เข้าถึงได้อย่างแท้จริง ดังนั้น Urban Studies Lab (USL) จึงเกิดขึ้นมาภายใต้แนวทาง Urban Living Lab (ULL) ซึ่งเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อชุมชนกับกระบวนการวางแผนเมืองเข้าด้วยกัน โดยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนเมือง และยังชี้ให้เห็นว่า ใครคือผู้ที่เกี่ยวข้อง และต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง ? ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ, ภาคเอกชน, องค์กรการศึกษา, องค์กรไม่แสวงผลกำไร หรือชุมชน ...ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางหนึ่งในการวางแผนเมืองที่สามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องรอภาครัฐเพียงอย่างเดียว แนวคิดหลักของ ULL มุ่งเน้นไปที่... 1) โครงการการออกแบบโดยตรง (Direct design) หรือการข้อเสนอแนะนโยบาย (policy interventions) 2) การเป็นศูนย์กลางของข้อมูลและแบ่งปันความรู้ (Open data and knowledge sharing) 3) การบ่มเพาะผู้นำเมืองใหม่ (The education of new urban leaders) . ซึ่ง USL ได้นำแนวคิดดังกล่าว มาปรับใช้ในการทำงานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น… 1) การวิจัยและการให้คำปรึกษา (research & consulting) 2) พื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคน (inclusive placemaking) 3) การพัฒนาเครื่องมือและแพลตฟอร์ม (tool and platform development) 4) ห้องเรียนในเมือง (urban classroom) . . “ เมืองที่ดีคือเมืองของผู้คน ดังนั้น USL จึงมุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการออกแบบเมือง เพื่อช่วยให้เมืองสามารถพัฒนาอย่างตรงจุด เท่าเทียมและยั่งยืนอย่างแท้จริง ”
top of page
bottom of page
Commentaires