top of page

Urban Poverty

รู้หรือไม่? พื้นที่เล็กๆ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร….
  • 70% ครัวเรือน มี รายจ่าย มากกว่า รายได้

  • สภาพบ้านทรุดโทรม ไม่แข็งแรงถึง 63%

  • สมาชิกครอบครัวไม่ทำงาน 52% ในขณะที่ทำงาน 44%

  • กลุ่มเป้าหมายประมาณ 500 คนระบุว่าไม่ได้รับสวัสดิการสังคม คิดเป็น 25%


ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำและขาดคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม โดยมีความจำเป็นในการเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและความเปราะบางในสังคมไทย


ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วย บพท. จัดทำโครงการ ‘การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกับชุมชน’ หรือมีชื่อย่อว่า ‘คนจนเมือง

Objective

USL Pillars scenario-15.png
  1. ศึกษาข้อมูลคนจนในเมือง และการออกแบบกระบวนการเก็บข้อมูล พัฒนาเครื่อข่ายการเก็บข้อมูลพื้นที่

  2. เก็บข้อมูลเพื่อแบ่งกลุ่มครัวเรือนยากจน เป็น 4 ระดับ (ตามกรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน Sustainable Livelihood Framework: SLF) เพื่อออกแบบแนวทางการส่งต่อความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความยากจน

  3. ระบุปัญหา ศักยภาพของพื้นที่ ฐานทุนทางพื้นที่ และ วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับพื้นที่นำร่อง 3 เขต ได้แก่ เขตพระโขนง ป้อมปราบศัตรูพ่าย และคันนายาว

IMPACTS

3

Model


3000

Beneficiaries

116

Community involved

9.93

SROI

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่มีรายได้น้อย (คนจน) ในชุมชนทั้ง 3 เขต ได้แก่ พระโขนง ป้อมปราบ คันนายาว


กระบวนการทำงาน

1. เริ่มเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกับชุมชน โดยเริ่มจากพื้นที่นำร่องเก็บข้อมูล 3 เขต ได้แก่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระโขนง และเขตคันนายาว โดยเอามาวิเคราะห์เป็นต้นทุน 5 มิติ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ และทุนสังคม

2. ประเมินและชี้วัดความจนจากข้อมูลที่สำรวจ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ อยู่ลำบาก อยู่ยาก พออยู่ได้ อยู่ดี

3. พัฒนาด้านอาชีพและกลไกด้านที่อยู่อาศัย (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ยกระดับการเข้าถึงสวัสดิการ)


รูปแบบกิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  1. การรวบรวมข้อมูล

  • ใช้ทฤษฎีการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihood Framework: SLF) ในการพัฒนาแบบสอบถาม โดยก่อนการเก็บแบบสอบถาม มีการจัดเวทีชี้แจงและสอนอาสาสมัครเกี่ยวกับแบบสอบถามและการเก็บข้อมูล และสอนเจ้าหน้าที่เขตนำเข้าข้อมูล

  • เก็บข้อมูลครัวเรือน ร่วมกับกลุ่มอสส. และกลุ่มอาสาเทคโนโลยี (Tech volunteer) โดยการใช้แบบสอบถามเพื่อพูดคุยกับชุมชน เพื่อแบ่งกลุ่มครัวเรือนยากจน เป็น 4 ระดับ ได้แก่ อยู่ลำบาก อยู่ยาก พออยู่ได้ อยู่ดี

  • มีเปิดเวที วงประชุม กับเขต และภาคีที่เกี่ยวข้อง

  1. การช่วยเหลือ

  • การส่งต่อข้อมูล กลุ่มคน อยู่ลำบาก ให้ภาครัฐที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายนี้อยู่แล้วรับผิดชอบ

  • ส่วนกลุ่มที่เหลือ 3 กลุ่ม ได้แก่ อยู่ยาก พออยู่ได้ อยู่ดี จะเข้าโครงการแก้จน Operating Models (OM)

  • ทำโครงการแก้จนตามพื้นที่เขต โดยมีความเฉพาะเจาะจงของกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละเขต


ผลกระทบที่เกิดขึ้น

สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้านที่สอดคล้องกับพันธกิจของศูนย์วิจัยชุมชนเมือง ได้แก่

  1. นโยบาย (Policy)

  • เกิดต้นแบบการสนับสนุน ดูแล และส่งต่อประชากรยากจน/เปราะบางโดยมีกลไกระดับเขตและชุมชนเป็นตัวนำ

  • การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาความยากจนในกรุงเทพฯ

  1. กระบวนการ (Process)

  • Database platform ฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในกรุงเทพฯ

  • โครงการแก้จน Operating Models (OM) 19 โครงการ ในพื้นที่นำร่อง 3 เขต ได้แก่ เขตพระโขนง ป้อมปราบ คันนายาว คาดการณ์ผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจโดยประมาณ 7,400,000 บาท

  • ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ในโครงการตลาดชุมชนและพัฒนาธุรกิจชุมชน เป็นค่า 9.93

  1. ผู้คน (People)

  • สามารถเก็บฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในกรุงเทพฯ เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้กว่า 2,000 คน

  • มีจำนวนเครือข่ายร่วมดำเนินงานมากกว่า 20+ หน่วยงาน

  • มีจำนวน Tech Volunteer กว่า 50 คน

  1. สถานที่ (Place)

  • แก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง 3 เขต ได้แก่ เขตพระโขนง ป้อมปราบศัตรูพ่าย และคันนายาว โดยมีโอกาสขยายเข้าไปในพื้นที่อื่น ๆ ในกรุงเทพฯ

  • โครงการที่เสนอขอโดยชุมชน ได้รับการอนุมัติ 92.31%

  • ผู้เข้าร่วมโครงการแก้จน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 91.57%

  • 35.83% ของครัวเรือนเข้าร่วมโครงการซ่อมสร้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


จากกระบวนการทำงาน เริ่มเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกับชุมชน ได้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลต้นทุน 5 มิติ ดังนี้

ทุนมนุษย์ (HUMAN CAPITAL)

  • คนในชุมชนส่วนใหญ่ 74 % สุขภาพปกติ และ 22% ป่วยเรื้อรังไม่ติดเตียง

  • จบการศึกษาเท่ากับหรือต่ำกว่าประถมศึกษาทั้งหมด มีถึง 54%

  • สมาชิกครอบครัวไม่ทำงาน 52% ในขณะที่ทำงาน 44%

  •  79% ไม่มีทักษะสร้างรายได้

ทุนการเงิน (FINANCIAL CAPITAL)

  • 70% ของครัวเรือนทั้งหมด มีรายจ่าย มากกว่า รายได้ โดยกลุ่มที่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ มีรายได้เฉลี่ยสุทธิ -4,892 บาท/เดือน/ครัวเรือน

  • กว่า 90% ไม่มีการออม

  • มีหนี้สิน 48% (วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม อุปโภค บริโภค ที่อยู่อาศัย รักษาพยาบาล การศึกษา) และ 52% ไม่มีหนี้สิน เพราะ ไม่ต้องการเป็นหนี้ และไม่มีความสามารถในการชำระคืน

ทุนกายภาพ (PHYSICAL CAPITAL)

  • สภาพบ้านทรุดโทรม ไม่แข็งแรงถึง 63%

  • 81% ไม่มีสถานที่ทำงานอยู่ใกล้บ้าน

ทุนธรรมชาติ (NATURAL CAPITAL)

  • 49% ใช้พื้นที่สาธารณะในการประกอบอาชีพ

ทุนสังคม (SOCIAL CAPITAL)

  • 87% มีการรวมกลุ่มในชุมชน

  • มีการการช่วยเหลือในชุมชน โดย 53% ปรึกษาหารือและช่วยเหลือกันตามธรรมเนียม ไม่มีเกณฑ์บังคับ

  • กลุ่มเป้าหมายประมาณ 500 คนระบุว่าไม่ได้รับสวัสดิการสังคม คิดเป็น 25%


ข้อค้นพบคือ

  • ครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกสูงมักจะมีอัตราการพึ่งพิงสูง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน และมีสัดส่วนสมาชิกผู้หารายได้น้อย ประชากรส่วนใหญ่มีความมั่นคงทางการเงินไม่มาก และมีพฤติกรรมการออมที่ไม่สูง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนผู้ที่มีสุขภาพดีค่อนข้างสูง

  • ปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการและการสนับสนุนต่าง ๆ มีหลากหลาย และมีการใช้กลไกทางสังคมและการรวมกลุ่มในพื้นที่เพื่อกระจายข่าวสารการช่วยเหลือ

  • สภาพที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งในทางตรงและทางอ้อม และมีชุมชนที่อาศัยในที่พักอาศัยที่ทำจากวัสดุไม่ถาวรและพื้นที่แออัด

ข้อมูลเหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและความเปราะบางในสังคมไทย ซึ่งทางคณะทำงานได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อระบุปัญหา ศักยภาพของพื้นที่ ฐานทุนทางพื้นที่ และ วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับพื้นที่


ผลผลิตที่เกิดขึ้น

  • ครัวเรือนคนจนในเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือและแก้ปัญหา

  • Database platform ฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในกรุงเทพฯ โดยเป็น website เพื่อเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือกรอกเก็บข้อมูลได้เลย

  • โครงการแก้จน Operating Models (OM)

  • แผน/ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของหน่วยงานในกรุงเทพฯ

  • ต้นแบบการสนับสนุน ดูแล และส่งต่อประชากรยากจน/เปราะบางโดยมีกลไกระดับเขตและชุมชนเป็นตัวนำ

  • การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาความยากจนในกรุงเทพฯ นำไปสู่ต้นแบบและระบบการแก้ไขปัญหาความยากจนในเขตกรุงเทพฯ (มีทั้งข้อมูล ความรู้ กลไก กระบวนการ และการมีส่วนร่วม)


การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

  1. ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน

มีการติดตามประเมินผลกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลผลิต ผ่านการกระบวนการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และติดตามการเปลี่ยนแปลง โดยผลลัพธ์ในเชิงปริมาณ หรือสามารถใช้ค่าแทนทางการเงิน

  • ผลตอบแทนทางสังคมจาการลงทุน (SROI) จากโครงการอบรมเขียนโครงการพัฒนาชุมชน  เท่ากับ 13.79

  • ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากโครงการการพัฒนาทางด้านอาชีพเท่ากับ 9.21

  • ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากโครงการซ่อมสร้างที่อยู่อาศัยเท่ากับ 4.27


  1. การประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) 

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

  • มีจำนวนเครื่อข่ายร่วมดำเนินงานมากกว่า 20+ หน่วยงาน

  • มีจำนวนอสส. ที่เก็บข้อมูลในแต่ละเขต กว่า 50 คน

  • มีจำนวน Tech Volunteer กว่า 50 คน

  • แก้ไขความความจนที่เกิดขึ้นในเมือง 3 เขต และมีเขตที่นำข้อมูลไปใช้ จำนวน 3 เขต

  • มีกิจกรรมโครงการแก้จนเกิดขึ้น 19 โครงการ


ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

  • เพิ่มการทำงานแบบบูรณาการ มีการทำงานกับหลายหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ อสส.

  • เพิ่มจำนวนคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานเพื่อชุมชนมากขึ้น

  • เป็นต้นแบบแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สำหรับ 47 เขตอื่นๆในกทม. และ Prototype platform สำหรับ 47 เขตทั่วกรุงเทพฯ สร้างฐานข้อมูลเพื่อการทำงานกับหน่วยงานรัฐท้องถิ่น


#WhatIsUrbanPovertyAlleviation? What do we do and what has happened?

Did you know? In some areas of Bangkok....

  • 70% of households have expenses higher than income

  • 63% of houses are run-down and unstable

  • 52% of family members are unemployed while 44% are employed

  • About 500 target people, or 25%, said they do not receive social welfare


This data points to inequality and lack of good quality of life in society. There is a need to prepare for changes in population structure and vulnerability in Thai society.


Urban Studies Lab with Area Based Collaborative Foundation received funding from National Science Research and Innovation Fund (NSRF) and Program Management Unit on Area Based Development (PMU A) to run ‘Urban Poverty Alleviation’ project. The objective is:

  1. Study data on the urban poor and design a data collection process, develop area data collection networks:

  2. Collect data to categorize impoverished households into 4 levels (according to the Sustainable Livelihood Framework: SLF) in order to design approaches for providing assistance and alleviating poverty.

  3. Identify problems, area potential, area capital base, and suitable solutions for the 3 pilot districts of Phra Khanong, Pom Prap Sattru Phai, and Khanna Yao.


Target groups of the project

Vulnerable groups and low-income (poor) people in the three districts of Phra Khanong, Pom Prap, and Khanna Yao.


Our work Process

  1. Collecting community database, starting with the 3 pilot districts of Pom Prap Sattru Phai, Phra Khanong, and Khanna Yao. Analyze this into 5 capital dimensions: human, financial, physical, natural, and social capital.

  2. Assess and indicate poverty levels from the surveyed data by categorizing into 4 levels: struggling, indigent, sufficient, and thriving.

  3. Develop careers and housing mechanisms (reduce expenses, increase income, improve access to welfare).


Activity Models divided into 2 main parts:

  1. Data Collection

    • The Sustainable Livelihood Framework (SLF) theory was used to develop the questionnaire. Before data collection, forums were held to explain to volunteers about the questionnaire and data collection process. District officers were also trained on data entry

    • Collect household data with volunteer groups and tech volunteers, using questionnaires to interview the community and categorize impoverished households into 4 levels: struggling, indigent, sufficient, thriving

    • Hold forums and meetings with districts and relevant partners

  2. Assistance

    • Forward data on the ‘struggling’ group to government agencies already responsible for this target group

    • The remaining 3 groups (indigent, sufficient, thriving) will enter the poverty alleviation operation models (OMs)

    • Implement poverty alleviation projects tailored to each district area. For example, the Organic Agriculture Learning Center project in the Khanna Yao area arose from the availability of suitable vacant land to develop as a food source and employment for people in the community, coupled with the community's need for garden/vegetable growing spaces.


The impacts from this project can be divided into 4P: 4 areas aligned with Urban Studies Lab's mission:

  1. Policy

    • Policy pathway:  Model for supporting, caring for, and empowering vulnerable populations: led by district and community mechanisms.

    • Identifying issues, addressing them locally, and being prepared to scale up and establish policy connections for future progress.

    • Integration and collaboration between relevant agencies in solving poverty in Bangkok.

  2. Process

    • Developing a platform for establishing a database of urban poverty for Bangkok.

    • Operation Models 19 projects were implemented across 3 pilot districts, with an estimated positive economic impact of 7,400,000 baht.

    • The estimated Social return on investment (SROI) for the community market and community business development project is 9.93

  3. People

    • The data collected for analysis and quality of life development involves over 2,000 individuals in the pilot areas.

    • There are more than 20 collaborating organizations involved in the project.

    • Over 50 tech volunteers are participating in the initiative.

  4. Place

    • Improving urban poverty in 3 districts, Pom Prap Sattru Phai, Phra Khanong, and Khan Na Yao, with the opportunity to expand to other areas in Bangkok.

    • Projects proposed by the community have an approval rate of 92.31%.

    • Participants in Operation Models projects experienced a 91.57% improvement in their quality of life.

    • 35.83% of households participated in improved quality of life after home renovations.


Here is a translation of that section on the 5 capital dimensions data to English:

From the work process starting with collecting community database, interesting data was obtained regarding the 5 capital dimensions as follows:

Human Capital

  • 74% of community members have normal health, and 22% have chronic illnesses but are not bedridden

  • 54% completed education level of primary school or lower

  • 52% of family members are unemployed, while 44% are employed

  • 79% do not have income-generating skills

Financial Capital

  • 70% of all households have expenses higher than income. The group with higher expenses than income has an average net income of -4,892 baht/month/household

  • Over 90% do not have savings

  • 48% have debts (purposes of loans: consumption, housing, medical, education) and 52% are debt-free because they do not want debt and lack repayment ability

Physical Capital

  • 63% of houses are dilapidated and not sturdy

  • 81% do not have a workplace near their home

Natural Capital

  • 49% use public spaces for their occupation

Social Capital

  • 87% are part of community groups

  • There is community assistance, with 53% consulting and helping each other customarily without obligation

  • Around 500 target people, or 25%, said they do not receive social welfare


Key Findings:

  • Households with more members tend to have higher dependency ratios, especially among children and youth, and have fewer income-earning members. The population generally has low financial security and low savings behavior. However, the proportion with good health is quite high.

  • There are various issues in accessing welfare and support, with social mechanisms and community groups utilized to disseminate assistance information.

  • Housing conditions and environment directly and indirectly affect quality of life, with some communities living in non-permanent dwellings and congested areas.

This data highlights the need to prepare for changes in population structure and vulnerability in Thai society. The working team analyzed the data to identify area problems, potential, capital base, and suitable solutions for each area.


Outputs

  • Target impoverished households received assistance and problem-solving

  • Database platform for impoverished households in Bangkok, as a dedicated website to collect data that can be used as a data entry tool

  • Poverty alleviation operating models (OMs)

  • Integrated and precise poverty alleviation plan/strategy for agencies in Bangkok

  • A model to support, care for, and refer the impoverished/vulnerable population with district and community mechanisms taking the lead

  • Integration and collaboration between relevant agencies and partners in solving poverty in Bangkok, leading to a model and system for poverty alleviation in Bangkok districts (with data, knowledge, mechanisms, processes, and participation)


Social Impact Assessment

  1. Social Return on Investment (SROI)

Impacts were monitored and evaluated with stakeholders through interviews, group discussions, and tracking changes. Quantitative outcomes or those that can be monetized:

  • SROI from community project writing training = 13.79

  • SROI from career development projects = 9.21

  • SROI from housing renovation projects = 4.27


  1. Social Impact Assessment (SIA)

Quantitative Outcomes:

  • Over 20 partner networks

  • Over 50 volunteers collecting data in each district

  • Over 50 tech volunteers

  • Reduced urban poverty in 3 districts, with 3 districts utilizing the data

  • 19 poverty alleviation project activities implemented


Qualitative Outcomes:

  • Increased integrated working with more agencies and relevant sectors

  • Increased efficiency of volunteer work

  • More young people working for communities

  • A prototype questionnaire for data collection for the other 47 Bangkok districts

  • A prototype platform for all 47 Bangkok districts to create a database for working with local government units

bottom of page