USL forum is back with a new theme, governance and the city. Please welcome our first piece of this series, (No)wander (No)vendors. The article raised the street food's issue in Bangkok through the review of หาบ(ไม่)เร่ แผง(ไม่)ลอย exhibition by SS:AR, which could lead to a larger conversation about how the street food policy could affect the city's landscape.
“เราคลุกคลีกับรถเข็นขายน้ำ ขายอาหาร แต่ก็ได้แต่ซื้อทาน ไม่เคยศึกษา ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นสิ่งที่น่าศึกษามาก แล้วปัจจุบันเริ่มมีการพูดกันถึง street food มากขึ้น
ทั้งเรื่องความไม่สะอาด ความไม่เป็นระเบียบ ซึ่งมันก็มีส่วนที่ถูก เพราะพอบริบทเมืองเปลี่ยนไป สิ่งที่เมืองต้องตอบก็ต่างไป แต่พวกเรามองว่า street food ก็เป็นวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ และมีประโยชน์ในตัวมันเอง เช่น ความสะดวก หรือการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าได้ในราคาไม่แพง
พวกเราเลยลองตั้งโครงการศึกษาสิ่งที่พวกเราคุ้นเคยแต่ไม่เคยศึกษาอย่างละเอียดนี้ขึ้นมา ศึกษาจากมุมมองของนักออกแบบ อยากจะลองคิดว่ารถเข็นพวกนี้ มันไม่จำเป็นต้องหายไปทั้งหมด แต่อยู่ร่วมกับเมืองได้ไหม? แต่การจะอยู่ร่วมกันได้ บางทีรถเข็นเองอาจจะต้องปรับเปลี่ยนหน้าตาไปหรือเปล่า อาจจะต้องกินที่น้อยลง? จัดการของเสียได้ดีขึ้น? โดยใน Episode 1 นี้ เราเริ่มจากศึกษารถเข็นขายน้ำร้านหนึ่งที่พวกเราคุ้นเคยก่อน เน้นที่ตัวรถเข็นเอง แต่ในเฟสต่อไป เราจะเริ่มขยายไปที่มิติที่กว้างขึ้น ไปยังชุมชน ไปยังย่านครับ ” หนึ่งในคณะทำงานเล่าให้ฟังถึงความสนใจและวัตถุประสงค์ของงานวิจัยและนิทรรศการนี้
ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงและได้รับความสนใจในสังคมวงกว้างและก็มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฉะนั้น ข้อเขียนชุดนี้จะขอส่องสำรวจและนำเสนอเนื้อหาของเรื่องหาบเร่แผงลอยและอาหารริมทางทั้งในบริบทของกรุงเทพมหานครและตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ อาหารริมทาง หรือ street food (อาจครอบคลุมถึงอาหารสดและอาหารแห้ง) ถือเป็นบริการพื้นฐานที่สำคัญอันหนึ่งและมีส่วนร่วมและมีส่วนช่วยพยุงทำให้เมืองยังคงขับเคลื่อนตัวไปได้ ข้อเขียนนี้จึงอยากจะทำการศึกษา รวมถึงทำความเข้าใจและพยายามเผยให้เห็นแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหารริมทางและวิถีชีวิตประจำวันที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรือการเข้าไปใช้พื้นทีสาธารณะ โดยเฉพาะพื้นที่ริมทาง/ทางเท้า/ฟุตบาท
ในตอนแรกนี้ จะขอหยิบยกเล่าถึงนิทรรศการอันหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว คือนิทรรศการ ‘หาบไม่เร่ แผงไม่ลอย’ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ณ บริษัทสถาปนิก Site-Specific: Architecture and Research (SS:AR) ได้ถูกจัดแสดงอยู่บริเวณชั้นล่างของตึกแถวเก่าที่เป็นที่ตั้งของบริษัท และอยู่ในย่านเมืองเก่าย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่ยังพบหาบเร่แผงลอยให้บริการอยู่ (SS:AR อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟหัวลำโพงและเยาวราช) ‘หาบไม่เร่ แผงไม่ลอย’ เป็นโครงการศึกษาวิจัยระยะยาวที่ (SS:AR) ได้ทำการศึกษาชีวิตประจำวันของเจ้าของร้านขายน้ำร้านหนึ่งอย่างละเอียด
ตั้งแต่มิติของขนาดอุปกรณ์ ข้าวของแต่ละชิ้น การจัดเก็บวัตถุดิบ การใช้งาน รวมถึงปัญหาหรือ อุปสรรค ทั้งต่อผู้ขาย ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม นิทรรศการครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลของการศึกษาที่ทาง (SS:AR) ได้ทำการศึกษามาระยะหนึ่งผ่านการนำเสนอด้วย ผังภาพ และแบบจำลอง หรือ proto-type model ขนาดเท่าจริงสองชิ้น
“หากมองในแง่ผังเมืองของกรุงเทพฯ วัฒนธรรมปากซอยเริ่มหายไปและในการนำหรือดึงอาหารเข้าสู่เมืองก็กำลังจะหายตามไปด้วย และเดี๋ยวนี้รถเข็นส่วนใหญ่มันก็ไม่ขยับแล้ว มันขายอยู่กับที่ในที่ประจำเราก็เลยเรียกงานวิจัยนี้ว่า หาบไม่เร่ แผงไม่ลอย” คุณชุตยาเวศ สินธุพันธุ์
(Principal ของ SS:AR ) กล่าวเสริมถึงจุดเริ่มต้นและที่มาของโครงการวิจัยชุดนี้ สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนิทรรศการนี้คือ การได้ทำการศึกษาหาบเร่ แผงลอยและร้านรถเข็นต่างๆ ที่อยู่ในย่านที่ทำงานของบริษัท SS:AR ในการทำเข้าใจเมืองหรือมอง ผ่านองค์ประกอบเล็กๆ ของเมือง แทนที่จะต้องไปดูที่สิ่งก่อสร้างใหญ่โตหรืองานสเกลใหญ่เสมอไป ซึ่งสิ่งเล็กๆในวิถีชีวิตประจำวันเหล่านี้คือสิ่งที่เราอาจจะมองข้ามด้วยซ้ำ
นิทรรศการครั้งนี้จึงเป็นการชวนเชิญให้เราหันมามอง หันมาขบคิดต่อเรื่องหาบเร่แผงลอย รถเข็นหรืออาหารริมทางต่างๆ ที่เริ่มจางหายไปจากภูมิทัศน์เมือง และ
SS:AR ได้ร่วมตั้งคำถามและนำเสนอถึงความเป็นไปได้และทางเลือก/ทางออกในการจัดการปัญหาของหาบเร่ แผงลอย ให้เอื้อและเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งได้ชี้ชวนให้เห็นว่าการออกแบบไม่ว่าจะเป็นในสเกลระดับใดนั้น ก็ล้วนมีความสำคัญและมีส่วนช่วยพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง รวมถึงการสร้างสรรค์และพัฒนาสุนทรียศาสตร์ของเมืองในภาพรวมได้
หมายเหตุ:
ดูรายละเดียดเพิ่มเติมได้ที่: www.sitespecific.co.th
ssion
コメント