top of page

กิจกรรมการเรียนรู้ข้ามพรมแดน “เมืองเท่าเทียมเพื่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี”

Urban Studies Lab ได้รับเกียรติเป็นผู้จัดหลักสูตรการเรียนรู้ข้ามพรมแดน Learning Across Boundaries (LAB) ในหัวข้อ Equitable City for Health and Well-being



กิจกรรมการเรียนรู้ข้ามพรมแดนที่มีชื่อว่า “เมืองเท่าเทียมเพื่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี” หรือ Equitable City for Health and Well-being LAB (Learning Across Boundaries) ที่ USL ได้จัดขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัย Yale-NUS College จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 12 มิถุนายน 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักศึกษาจาก Yale-NUS College ทั้งหมด 11 คน


การเรียนรู้ข้ามพรมแดนถือเป็นความท้าทายอย่างมากในการส่งต่อความรู้ให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเข้าใจถึงบริบทปัญหา สภาพแวดล้อม และอัตลักษณ์ของกรุงเทพอย่างแท้จริงในระยะเวลาอันสั้น แต่น้อง ๆ นักศึกษาจาก Yale NUS College นั้น สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีเยี่ยม และได้รับคำชมจากเจ้าหน้าที่จากสำนักอนามัยฯ สำนักพัฒนาสังคม และตัวแทนรองปลัดกรุงเทพมหานคร


จุดมุ่งหวังของ USL ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามพรมแดนภาคฤดูร้อนในครั้งนี้คือการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อการพัฒนาเมือง การส่งต่อองค์ความรู้ทั้งในรูปแบบ Top-down และ Bottom-Up การสร้างกลไกการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเมืองอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการใช้ข้อมูลที่มีหลักฐานอย่างเป็นประจักรในการบ่งชี้ถึงปัญหา และการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำในการแก้ไขปัญหา


Urban Studies Lab (USL) is promoting the urban living lab model in Thailand; to build a platform for collaborative/bottom-up action with academic institutions, public sector, local community, and private sector to create real impact such as community revitalization, participatory strategy development, budget design, and public policy recommendation.

The Equitable City for Health and Wellbeing LAB focuses on developing practical and innovative tools to enhance health promotion strategies in Bangkok. In this course, participants get to learn about the different approaches, methods, and interventions that are currently in use for the health and well-being of the 4 vulnerable groups (at-risk youth, people with disabilities, urban poor, and aging elderly).


The LAB focused on the 4 vulnerable groups’ access to health and well-being from policy level to action level. participants may come across issues such as lack of public space, cleanliness, waste management, and mental struggles, for example. They will be able to decide what specific issues they want to focus on based on their interests after gathering enough information. We encourage participants to think outside the box and ideate solutions that best fit the communities’ needs. participants may find solutions that tackle issues from a top-down approach or a bottom-up approach. The main goal is to strengthen and empower the local community. We take into consideration that the participants may be inexperienced in the field. We plan to have our trained staff working alongside the participants to help frame their questions and guide them throughout the entire process.




หัวข้อในหลักสูตร


  1. การบรรยาย หัวข้อ มหานครแห่งสุขภาพ: กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร (Healthy Metropolitan: A Case Study of BMA) โดย รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  2. การอบรม – User Empathy and Design Thinking โดย อาจารย์ พิณ อุดมเจริญชัยกิจ รองผู้อำนวยการ USL และสำนักเลขาธิการ FREC

  3. การเรียนรู้เครื่องมือ – การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data Collection and Analysis) โดย ดร. พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ กรรมการ FREC, ผู้อำนวยการ USL

  4. การบรรยาย หัวข้อ Urban Governance for Health and Well-being โดย อาจารย์ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์

  5. การบรรยาย หัวข้อ ข้อค้นพบโครงการสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรกลุ่มเปราะบาง: กรณีศึกษา (Findings on Health and Well-being Projects for Vulnerable Population: case study) โดย ดร. นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส ด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

  6. การบรรยาย หัวข้อ ข้อค้นพบเกี่ยวกับนวัตกรรมเชิงพื้นที่เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Space-Based Innovation for Health and Well-being) โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum)

  7. การบรรยาย หัวข้อ การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Develop policy recommendation) โดย ดร. พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ กรรมการ FREC, ผู้อำนวยการ USL

  8. Mentoring session ร่วมกับมูลนิธิสติ (Sati Foundation) ในหัวข้อ สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงจากมุมมองขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (At-risk youth through a non-profit organization perspectives) โดย คุณเสกสรร รวยภิรมย์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสติ, ผู้ประกอบการเพื่อสังคม


การจัดหลักสูตรการเรียนรู้ข้ามพรมแดนภาคฤดูร้อน (Summer LAB) ในครั้งนี้เรามุ่งหวังให้นักศึกษาจากประเทศสิงคโปร์ได้รับความรู้เรื่องการพัฒนาเมืองทั้งในมุมมองของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ซึ่งต่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนากรุงเทพฯ





ศูนย์บริการสาธารณะสุข 20


มากไปกว่านั้น นักศึกษายังมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมศูนย์บริการสาธารณะสุข 20 เขตป้อมปราบฯ เพื่อศึกษาระบบการส่งความช่วยเหลือโครงสร้างขององค์กร และเปิดพื้นที่เพื่อการถามตอบ (Q&A) ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจกันมากๆ คือเรื่องการมีอาสาสมัครสุขภาพ (อสส.) ในแต่ละชุมชน ซึ่งแตกต่างจากระบบการส่งความช่วยเหลือด้านสุขภาพในประเทศสิงคโปร์


การเรียนรู้พัฒนาเมืองจากมุมมองใหม่ ๆ อาจเป็นโอกาสที่ดีที่กรุงเทพจะสามารถนำแนวคิดและข้อเสนอแนะต่างๆไปปรับใช้ต่อได้ แผนพัฒนาในการแก้ไขปัญหาทั้ง 4 รูปแบบนั้นเกิดขึ้นมาได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 8 วัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอย่างมากของการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ข้ามพรมแดน Equitable City for Health and Welling LAB นี้ มากไปกว่านั้นผู้เข้าร่วมยังให้ feedback กลับมาว่าหลักสูตรนี้ได้สร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนาเมืองในชีวิตจริงที่อาจพบเจอปัญหาจากหลากหลายด้านและแง่มุม


Under the short span of 8 days, the Equitable City for Health and Well-being LAB has been a transformative experience for the participants, providing them with valuable knowledge at various scales, from the local community level to the global initiative level. The collaborative partnership with local stakeholders and the exploration of the equity gap in Bangkok have highlighted the need for effective solutions and guidelines to address this pressing issue.


Throughout the course, the participants have demonstrated their eagerness to learn, actively engaging in lectures and seeking insights from the professional experiences of the lecturers. Fruitful discussions have been a consistent feature of the LAB, fostering a rich learning environment. The site visits to the communities in the Nang Loeng Area have offered firsthand experiences and insightful information about health and well-being at the community level. The participants have gained a deep understanding of the challenges these communities face and have learned to view their needs from their own perspectives.

Under the guidance of mentors, the participants have embraced new tools and applied them to their proposed solutions, allowing for the development of innovative projects.

Workshops on user empathy, SWOT analysis, and stakeholder mapping have equipped them with essential skills and frameworks to better understand community needs and identify development opportunities within their projects. The culmination of the LAB was the presentations held at Bangkok City Hall, where participants had the opportunity to share their ideas and solutions with the Department of Social Development and the Department of Health. These presentations provided invaluable feedback from key stakeholders, allowing participants to gain insights from governance agencies and stakeholders with extensive working experience.


Overall, the Equitable City for Health and Well-being LAB has not only broadened participants' knowledge but also empowered them to apply their learning and contribute to the development of solutions that address health and well-being disparities in Bangkok. The LAB has fostered a deep sense of understanding and commitment among the participants, paving the way for future initiatives aimed at creating a more equitable and healthy city.






GALLERY




bottom of page