top of page

ห้องวิจัยมีชีวิต ( Urban Living Lab )

บทความในวันนี้ ดร. พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ ผู้อำนวยการของ USL ได้เล่าถึงความสำคัญของคน ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่ไม่ใช่ประเด็นทั่วไปอย่างเทคโนโลยี เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตและอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology; ICT) และข้อมูลเปิด (Open Data) ซึ่งนักวิชาการและนักพัฒนาส่วนใหญ่มักมองข้ามประชาชนในการพัฒนาเมืองอัฉริยะ


อย่างไรก็ตาม ประชาชนเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างเครือข่ายจากธุรกิจใหม่และการลงทุนจากเอกชนเพื่อสังคมที่ช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์ในการพัฒนาเมืองได้เป็นอย่างดี .

ตามทฤษฎีของ Cohen ที่แบ่งดัชนีของเมืองอัจฉริยะออกเป็นหลายบริบท ในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการเล่าถึงความสำคัญกับบริบทของประชาชนอัฉริยะ (Smart People) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ 1. เทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม 2. การศึกษาที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ .

โดยสรุปแล้วบริบทของประชาชนอัฉริยะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน


ดร. พงษ์พิศิษฐ์ กล่าวว่าห้องวิจัยมีชีวิต (Urban Living Lab) เป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันเมืองอัจฉริยะผ่านบริบทของประชาชน โดย ENOLL ได้ให้คำจำกัดความของห้องวิจัยที่มีชีวิตว่า ระบบนิเวศที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางจากการร่วมมือกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อประยุกต์งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ในชุมชนจริง .

ภาคการศึกษาเองก็เป็นตัวแปรสำคัญของห้องวิจัยที่มีชีวิตเพื่อเมืองอัจฉริยะเนื่องจากมหาวิทยาลัยมีศักยภาพและทรัพยากรที่เพียงพอและเหมาะสมในการทำกิจกรรม อาทิ การบูรณาการของศาสตร์หลายแขนง การจัดการในฐานะของหน่วยงานกลาง และการจัดการข้อมูลจากเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากตัวแปรดังกล่าวจะมีความสำคัญกับห้องวิจัยที่มีชีวิตแล้ว มหาวิทยาลัยยังสามารถพัฒนาพื้นที่รอบ ๆ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Placemaking) ได้อีกด้วย .



นอกจากนี้ Boyd Cohen ได้แบ่งระดับวิสัยทัศน์ของเมืองอัจฉริยะออกเป็น 3 ระดับ 1.0 บริษัทเทคโนโลยีเป็นผู้นำในการพัฒนานวัตกรรมของเมือง 2.0 รัฐบาลประยุกต์และใช้ประโยชน์เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเมือง 3.0 ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา .



ดร. พงษ์พิศิษฐ์ย้ำว่าเมืองอัจฉริยะระดับ 3.0 คือเป้าหมายที่เขาต้องการพัฒนา เนื่องจากงานศึกษาหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่าเมืองอัจฉริยะระดับ 3.0 มีความเข้าใจถึงบริบท และองค์ประกอบของสังคม ซึ่งเป็นแก่นแท้ของเมืองอัจฉริยะ โดยเฉพาะในบริบทของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยจะยึดถือ 4 ภาคส่วนในโมเดล Quadruple Helix เป็นแกนนำการพัฒนาสังคมเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่นิยมนำไปใช้พัฒนาธุรกิจ ประกอบด้วย 4 เสาหลักของการพัฒนานโยบายที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมคือภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา และประชาชน ซึ่งห้องวิจัยที่มีชีวิตจะช่วยให้เมืองอัจฉริยะไม่เป็นเพียงวาทกรรมหรือความฝันที่ไกลตัวประชาชนเมืองอีกต่อไป .

อ่านบทความเต็ม ๆ กันได้ที่ https://medium.com/.../smart-people-for-smart-city...



22 views0 comments
bottom of page