top of page

โครงการการยกระดับเมืองอัจฉริยะ และเมืองน่าอยู่ผ่านการพัฒนาฐานข้อมูลเมือง



ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) ได้ดำเนินโครงการการยกระดับเมืองอัจฉริยะ และเมืองน่าอยู่ผ่านการพัฒนาฐานข้อมูลเมือง นโยบาย และกลไกการทำงานระดับพื้นที่ กรณีศึกษาคลองผดุงกรุงเกษม โดยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเมืองในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และการออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาการใช้ข้อมูลในเมืองอัจฉริยะและเมืองน่าอยู่ พร้อมส่งเสริมศักยภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ด้านการจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ การบริการ และการสื่อสารนโยบาย เพื่อนำไปสู่การทำขับเคลื่อนและยกระดับเมืองอัจฉริยะ และเมืองน่าอยู่


โดยได้จัดกิจกรรมเวที “นำเสนอภาพรวมโครงการการยกระดับเมืองอัจฉริยะ และเมืองน่าอยู่ผ่านการพัฒนาฐานข้อมูลเมือง นโยบาย และกลไกการทำงานระดับพื้นที่ กรณีศึกษาคลองผดุงกรุงเกษม” ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า เพื่อสร้างความเข้าใจ และการรับรู้ร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกระบวนการดำเนินงานโครงการ และนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายโครงการร่วมกับการพัฒนา Bangkok City Lab ร่วมกับภาคีเครือข่าย





สรุปกิจกรรม Workshop


สำนักงานเขต

  • City data โดยกลุ่มของสำนักงานเขตมีการเก็บและใช้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลประชากรศาสตร์ ข้อมูลชุมชน ข้อมูลอาคารเก่าในพื้นที่ ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลผู้เปราะบางจาก TPMAP และข้อมูลจาก Traffy Fondue

  • ปัญหาการใช้ City data โดยปัญหาที่สำนักงานเขตพบ คือ บางฝ่ายในเขตไม่รู้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง จะรู้เฉพาะข้อมูลของหน่วยงานตัวเอง เช่น ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมจะรู้เฉพาะข้อมูลของชุมชน จึงทำให้ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับฝ่ายอื่น ๆ

  • Index สำหรับการใช้ตัวชี้วัดเพื่อวัดผลนโยบายและข้อมูลต่าง ๆ ทางสำนักงานเขตในเสนอให้ใช้ตัวชี้วัดผ่านนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เช่น 9ด้านดี นโยบายปลอดภัยดี จะวัดจากจำนวนอาชญากรรมลดลง การมีผู้คนสัญจรมากขึ้น การติดตั้งเสาไฟส่องสว่าง นโยบายสวน 15 นาที จะวัดจากจำนวนสวนที่ได้รับการพัฒนา ความสามารถในการเดินเท้า เป็นต้น

  • Solutions โดยทางสำนักงานเขตได้เสนอความคิดเห็นและแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การใช้ธนาคารโครงการเข้ามาสนับสนุน เช่น โครงการ Smart City โครงการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่-แผงลอย เป็นต้น รวมไปถึงการใช้หลักสูตรเพื่อสนับสนุนข้าราชการ เช่น การอบรมวิธีร่างข้อเสนอ (proposal) การดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น


สำนักวางผังและพัฒนาเมือง

  • City data โดยกลุ่มของสำนักวางผังและพัฒนาเมืองมีการเก็บและใช้ข้อมูลประเภท GIS data เช่น กลุ่มข้อมูลแผนที่ฐาน (Base map) กลุ่มข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร กลุ่มข้อมูลสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ กลุ่มข้อมูลผังเมือง ผังเมืองรวม และข้อบัญญัติ ข้อมูลเชิงสถิติ (Statistic data)

เช่น ข้อมูลประชากรศาสตร์ สถิติการปลูกสร้าง ข้อมูลผลการศึกษาโครงการต่าง ๆ

  • ปัญหาการใช้ City data โดยปัญหาที่พบจากการใช้ข้อมูลเมือง คือ ความทันสมัยของข้อมูล ปัญหาด้านการอ้างอิงของตัวกฎหมาย PDPA (ข้อจำกัดในการเผยแพร่ข้อมูล) การขาดมาตรฐานรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูล การขาดการให้ความรู้ความเข้าใจในการงานข้อมูลหรือระบบ GIS ในรูปแบบ digital การพัฒนาการใช้งานข้อมูลยังไม่เข้ากับอายุของผู้ใช้งาน (เครื่องมือไม่ match กับผู้ใช้งานส่วนใหญ่) การเข้าถึงข้อมูลติดข้อจำกัดในด้านของกฎหมาย PDPA และปัญหาการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานสองหน่วยงาน

  • Index สำหรับการใช้ตัวชี้วัดเพื่อวัดผลนโยบายและการใช้ข้อมูลต่าง ๆ ทางสำนักวางผังและพัฒนาเมืองมีการใช้ตัวชี้วัดจากแผนปฏิบัติราชการตามคำรับรองเพื่อชี้วัดการทำงานตัวขี้วัดในการจัดทำหรือปรับปรุงข้อมูลเพื่อวัดผลการปรับปรุงข้อมูลอาคารและชุดข้อมูล และการประเมินผังเมืองรวม โดยทางสำนักงางผังเมืองยังไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนสำหรับการใช้เป็นตัวชี้วัดเมืองในด้านต่าง ๆ

  • ปัญหาการการใช้ Index คือ หน่วยงานยังขาดความเข้าใจในการใช้ Index และการนำข้อมูลมาปรับเป็นตัวชี้วัด เช่น SDG หรือ UNDP หรือ Index 4 ตัวที่ทางกทม. ใช้งาน

  • Solution สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา ทางสำนักวางผังและพัฒนาเมืองได้เสนอให้มีอบรมการใช้งาน เครื่องมือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น กรมที่ดิน ในการเชื่อมโยงข้อมูลมาใช้ร่วมกัน การสร้างการรับรู้และการใช้งาน การเปลี่ยนระบบจาก manual มาสู่ digital และการอบรมเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบ GIS

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล

  • City data โดยกลุ่มของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลมีการเก็บและใช้ข้อมูด้านเศรษฐกิจ เช่น สถิติรายได้ ร้านค้า จำนวนนักท่องเที่ยว ข้อมูลชุมชน ซึ่งควรมีการทดลองใช้เครื่องมือในพื้นที่ขนาดเล็กก่อน

  • ปัญหาการใช้ City data โดยปัญหาการใช้ข้อมูลที่ทางสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลพบ คือ รูปแบบข้อมูลไม่เป็นตามมาตรฐาน Machine readable data ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการเก็บและเตรียมข้อมูล ข้อมูลขาดความเป็นปัจจุบัน ความซ้ำซ้อนของข้อมูล หน่วยงานและสำนักต่าง ๆ ไม่สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ เช่น ข้อมูลจาก Traffy Fondue ซึ่งจำเป็นต้องผ่านคนดูแลแพลตฟอร์ม ปัญหาผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลไม่สามารถเรียกข้อมูลจากแต่ละหน่วยงานได้ เช่น ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายเทศกิจ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจข้อมูลน้อย

  • การแก้ไขปัญหาการใช้ City data โดยทางสำนักยุทธศาสตร์และประเมิลผลได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านข้อมูลเมือง คือ ควรมีหน่วยงานกลางในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความซับซ้อนในการเก็บข้อมูลและพันธกิจที่ต่างกันของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งการมีหน่วยงานกลางจะช่วยเชื่อมให้กทม. สามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้วางแผนได้ เช่น ข้อมูลอุบัติเหตุและอาชญากรรม ควรมีการกำหนดวัฒนธรรมข้อมูล (Data culture) ของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดมุมมองและวัฒนธรรมร่วมในการใช้และเห็นประโยชน์จากข้อมูล และควรมีการกำหนดนโยบายข้อมูล (Data policy) เช่น การเรียกใช้ข้อมูล การแชร์ข้อมูลระหว่างระบบหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ

  • Index สำหรับตัวชี้วัดเพื่อวัดผลนโยบายและการใช้ข้อมูลต่าง ๆ ทางสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลมีการใช้ตัวชี้วัด เช่น Happiness Indicator Air Quality Index จำนวนคนไร้บ้าน เป็นต้น

  • การแก้ไขปัญหาการใช้ Index ทางสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้เสนอแนวทางในการใช้ Index โดยเสนอให้มีหน่วยงานกลางแปลงดัชนีต่าง ๆ ให้ใช้ง่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ เพราะ Index มีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน

  • Solution ทางสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเสนอให้มีการทำหลักสูตร เช่น หลักสูตรเทรนเครื่องมือ ArcGIS, Survey, PowerBI, Data looker, ETL, QGIS หลักสูตรเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล (Data collection and analytic) หลักสูตรสอนทำ proposal เป็นต้น โดยมีข้อเสนอแนะคือ เน้นใช้เครื่องมือที่ภาครัฐมีอยู่แล้ว เครื่องมือมีความง่ายต่อการใช้งาน

หน่วยงานภายนอก

  • City data โดยในแต่ละสำนักมีแนวทางในการเก็บข้อมูลและกระบวนการในการทำงานที่แตกต่างกัน ในกลุ่มแลกเปลี่ยนข้อมูล หน่วยงานทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะเป็นหน่วยงานที่ดูข้อมูลในระดับภาคใหญ่ โดยเน้นการดูข้อมูลจากฐานข้อมูลส่วนกลางของกรุงเทพมหานคร เช่น Open Bangkok หรือข้อมูลเฉพาะด้านอย่างข้อมูลด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของทาง Urban ally ที่กำลังเก็บข้อมูลของย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเขตพระนครมาเพิ่มเติม ซึ่งมีฐานข้อมูลของทาง CEA ที่เก็บข้อมูลของย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานครเอาไว้ หรือข้อมูลเปิดที่มีเปิดอยู่ทั่วไปอย่างเช่น Google POI มาประกอบในการเก็บข้อมูลและต่อยอดต่อไปในอนาคต

  • ปัญหาการใช้ City data ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่ทางกรุงเทพมหานครมีอยู่ ทั้งข้อมูลหลังบ้านและข้อมูลเปิดที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้นั้นยังไม่สมบูรณ์ และไม่ครบถ้วนมากพอที่จะนำไปใช้ในการต่อยอดพัฒนาโครงการ หรือส่งต่อความช่วยเหลือได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในด้านสุขภาวะของประชาชนกลุ่มคนเปราะบางในปัจจุบัน

  • การแก้ไขปัญหาการใช้ City data ทาง Depa มีการเสนอแนวทางการเก็บข้อมูลผ่าน Ambassador ผ่านทาง Line OA โดย Ambassador นั้นจำเป็นต้องผ่านการอบรมในการเก็บข้อมูลกับทางองค์กร โดยจะได้รับค่าตอบแทนตามการเก็บข้อมูลที่แต่ละคนสามารถเก็บได้

  • Index แต่ละองค์กรได้พูดถึงกรอบการดำเนินการที่นำข้อมูลไปพัฒนาตามดัชนีชี้วัดต่าง ๆ โดยแต่ละองค์กรนั้นได้ใช้ดัชนีชี้วัดที่นิยมใช้ และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายอย่างดัชนี UNF ของ UNHABITAT, Livability Index, SDG Goal, UHI ดัชนีเหล่านี้ใช้ในการวัดถึงความยากจนในกลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ยังมีการนำเอาข้อมูลเดิมมาประยุกต์ใช้ให้เป็นดัชนีชี้วัดของตนเอง โดยทาง Urban Ally นั้นได้นำข้อมูลทาง CEA ในเรื่องของย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้เป็นดัชนีชี้วัดในการทำงานด้านย่านสร้างสรรค์ของตนเอง

  • Solution ได้มีการแนะนำถึงแนวทางในการแก้ปัญหาในเรื่องของการซ้อนทับของข้อมูล และงานวิจัยในพื้นที่ในลักษณะของ Research shelf ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลางของข้อมูลและงานวิจัยที่สามารถแลกเปลี่ยนและตรวจสอบถึงการซ้อนทับของข้อมูลและงานวิจัยในพื้นที่เนื่องจากในปัจจุบันมีพื้นที่ที่ถูกซ้อนทับข้อมูลและงานวิจัยเป็นจำนวนมาก และยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการสำรวจข้อมูล และยังไม่มีงานวิจัยไหนเข้าไปพัฒนาหรือต่อยอดในพื้นที่ นอกจากนั้นยังเสนอถึงการพัฒนาระบบ Traffy Fondue ของทางกรุงเทพมหานครให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกร้องเรียนให้กับหน่วยงานสำนักต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเสนอแนะถึงการพัฒนาระบบการติดตามข้อมูล หรือ Data tracking กับข้อมูลพื้นที่ที่ได้ถูกร้องเรียนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยปัจจุบันทางกรุงเทพมหานครได้ทำการเปิดรับข้อเสนอในการพัฒนาระบบจากประชาชนผู้สนใน เพื่อหาแนวทางที่เป็นไปได้ไปพัฒนาต่อต่อไปในอนาคต และการอบรมกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลที่มีความแม่นยำในพื้นที่ชุมชนและส่งต่อสู่แฟลตฟอร์มและหน่วยงานภาครัฐได้เที่ยงตรงและแม่นยำได้ดียิ่งขึ้น



สรุปภาพรวมด้านข้อมูลเมือง

ดัชนีชี้วัดเมือง ปัญหาในการใช้งานดัชนีเมือง และการแก้ไขปัญหาเมือง


City Data

หน่วยงานแต่ละหน่วยงานมีข้อมูลตามรูปแบบการทำงานของหน่วยงานเอง เช่น สำนักงานเขตมีข้อมูลในระดับพื้นที่ ที่ได้จากการทำงานภายในพื้นที่เช่น ข้อมูลด้านประชากร ข้อมูลกลุ่มเปราะบาง ข้อมูลชุมชน เป็นต้น


สำนักวางผังและพัฒนาเมืองเองก็มีข้อมูลอยู่เช่นกัน เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทำการสร้างข้อมูล อัพเดทข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลจึงเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเมืองของกรุงเทพมหานคร มีทั้งข้อมูลที่เป็นเชิงพื้นที่ และข้อมูลเชิงสถิติ ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลในเชิงกายภาพของเมืองเป็นหลัก

สำนักยุทธศาสตร์และประเมิณผล มีข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมมูลที่สามารถนำไปประเมิณผลของการทำงาน และนำไปออกแบบในการสร้างนโญบายเพื่อบริหารเมืองกรุงเทพมหานครได้ เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของเมือง


หน่วยงานภายนอก โดยส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานภายนอกมีการใช้งานข้อมูลเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน ข้อมูลบางประเภทได้ข้อมูลมาจากหน่วยงานภาครัฐ เช่นกรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานราชการอื่น ๆ


Index

ดัชนีชี้วัดเมืองในหน่วยงานกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขต หรือสำนักวางผัง และพัฒนาเมืองยังไม่มีดัชนีที่เป็นดัชนีชี้วัดในเมืองโดยตรง มีเพียงตัวชี้วัดในการทำงาน หรือตัวชี้วัดของนโยบายที่ทำในหน่วยงาน จะมีเพียงสำนักยุทธศาสตร์และการประเมิณผล ที่มีการใช้ดัชนี้ชี้วัดเมือง จากข้อมูลที่อยู่ภายในเมือง ในด้านของหน่วยงานภายนอกส่วนใหญ่มีการใช้งานดัชนีชี้วัดเมืองตามลักษณะและความเหมาะสมของข้อมูล และของตัวดัชนีเอง


ปัญหาการใช้งานด้านข้อมูล

ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจากการจัดกิจกรรมจากหน่วยงานภาครัฐทั้ง หน่วยงานพบว่า ปัญหาหลักคือปัญหาในการสร้างฐานข้อมูลที่มีการใช้งานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในระดับสำนักงานเขตที่ข้อมูลภายใน กทม ไม่ได้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ไปจนถึงในระดับ สยป และสวพ ที่ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูล หรือสร้างฐานข้อมูลเปิดระหว่างหน่วยงาน จนทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และไม่สามารถนำข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และมีความครบถ้วนมาใช้งานได้


ในด้านของการใช้งานดัชนีชี้วัดเมืองนั้นบางหน่วยงานยังไม่มีการใช้งานดัชนีชี้วัด มีเพียง สยปที่มีการใช้งานดัชนีชี้วัดเมือง แต่ยังไม่ได้มีการใช้งานเป็นดัชนีกลางในการชี้วัดในด้านต่าง ๆ ของเมือง และยังพบปัญหาเจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจในการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ในขณะที่หน่วยงานภายนอกมีการใช้งานดัชนีเมืองในการวิจัย หรือในการพัฒนาโครงการต่อยอดในด้านต่าง ๆ



Solution

จากการจัดกิจกรรมพบว่าแต่ละหน่วยงานมีได้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาในภาพรวมผ่านการงานหลักสูตร และอบรมเจ้าหน้าที่รัฐของกรุงเทพมหานคร ผ่านหลักสูตร 2 ประเด็นคือ

  • หลักสูตรอบรมการใช้งานข้อมูลเมือง ระบบฐานข้อมูลเมือง การไหลเวียนของข้อมูลเมืองในระดับต่าง ๆ ข้อมูลเชิงสถิติ ข้อมูลเชิงพื้นที่ การเก็บข้อมูล การนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบ ไปจนถึงการใช้แพลทฟอร์ม และดัชนีเมืองในการวิเคราะห์ในพื้นที่

  • หลักสูตรการสร้างดัชนีชี้วัดเมือง (ดัชนีเมืองน่าอยู่) และการใช้งานดัชนีชี้วัดเมือง โดยการใช้ข้อมูลภายในเมือง

  • หลักสูตรอบรมการใช้งานเครื่องมือการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (GIS)

  1. การแปลงข้อมูล

  2. การใช้งานเครื่องมือ

  3. การใช้งานช้อมูลดิจิทัล


Gallery



76 views0 comments
bottom of page