top of page

The new urban agenda วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง



แม้ว่าในปัจจุบัน #ชุมชนเมือง และประชากรทั่วโลกจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แต่ทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ของเมืองนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ประชากรบางส่วนต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัจจัยพื้นฐาน . ดังนั้น เราจึงต้องมีแนวทางในการบริหารจัดการเมืองให้รองรับต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปพร้อม ๆ กับการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและทำให้เมืองเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

| การพัฒนาอย่างยั่งยืน

#เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) คือเป้าหมายการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่หลายประเทศพยายามผลักดันให้บรรลุเป้าประสงค์ภายในปี ค.ศ.2030 เพื่อรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเป็นการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

.

โดย SDGs นั้น สามารถแบ่งกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน ในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น…

🚩 มิติด้านสังคม (People)

- ขจัดปัญหาความยากจน

- ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม


🚩 มิติด้านเศรษฐกิจ (Prosperity)

- อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพภูมิอากาศ


🚩 มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Planet)

- ส่งเสริมให้ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสอดคล้องกับธรรมชาติ


🚩 มิติด้านสันติภาพและสถาบัน (Peace)

- สร้างสังคมที่สงบสุข และไม่แบ่งแยก


🚩 มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)

- สร้างความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

.

ซึ่งหนึ่งในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับชีวิตชุมชนเมืองที่สำคัญ คือ การทำให้เมืองครอบคลุม ปลอดภัย และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs เป้าหมายที่ 11 - เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities)) มุ่งเน้นให้เกิด “การวางผังเมืองอย่างยั่งยืน” เนื่องจาก #เมือง ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่อยู่อาศัยเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งสำคัญของการจ้างงาน ซึ่งกระทบต่อด้านต่าง ๆ ในสังคมอีกด้วย


| New Urban Agenda (NUA)

#วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda : NUA) คือแนวทางและพันธกิจฉบับใหม่ จากองค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์การพัฒนาครั้งที่ 3 (Habitat III) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ในอีก 20 ปีข้างหน้า

.

โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เกิดแนวทางสำหรับปฏิบัติงานในภาคส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่หน่วยงานระดับย่อย, หน่วยงานท้องถิ่น, ไปจนถึงหน่วยงานในภาครัฐต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก SDGs เป้าหมายที่ 11


| มิติหลักของวาระเมืองใหม่

จุดมุ่งหมายหลังของ NUA คือการพยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ซึ่งได้แก่…


⭐ ความยั่งยืนทางสังคม

- การเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มคนชายขอบ

- สร้างความเท่าเทียมทางเพศ

- มีการวางแผนรองรับกลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น แรงงานข้ามชาติ, ชนกลุ่มน้อยและผู้พิการ

- วางแผนสำหรับกลุ่มคนที่มีหลากหลายวัย


⭐ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

- ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

- เพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต และส่งเสริมให้เกิด "เมืองที่มีการแข่งขัน"


⭐ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

- ปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

- สร้างความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

- การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


⭐ ความยั่งยืนเชิงพื้นที่

- ส่งเสริมความเท่าเทียมและความยั่งยืนในพื้นที่ ผ่านการรจัดหาโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้นฐานอย่างเท่าเทียม

- ออกแบบและจัดระบบเชิงพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น

.

โดยการพัฒนาเมืองในภาคส่วนต่าง ๆ นั้น ต่างก็มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ทั้งแบบที่เป็นรูปธรรม และแบบที่ไม่เป็นรูปธรรม ซึ่งระบบต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันและทำให้เมืองเกิดการในการพัฒนา มีดังนี้


1. กลไกการเข้าสนับสนุนการดำเนินงานในระบบ ได้แก่ นโยบายเมืองแห่งชาติ, นโยบายที่ดิน, นโยบายการพัฒนาชุมชนแออัด, กฎหมายและขอบังคับของเมือง, การออกแบบชุมชนเมือง, การเงินและงบประมาณของเทศบาล(รัฐบาลท้องถิ่น), การปกครองเมือง


2. ตัวชี้วัดแบบรูปธรรม สำหรับโครงสร้างพื้นฐานและบริการ ได้แก่ การขนส่งและการคล่องตัว


3. ตัวชี้วัดแบบไม่เป็นรูปธรรม ได้แก่ วัฒนธรรม, การศึกษา, สุขภาพ, ความปลอดภัยภายในเมือง


4. เทคโนโลยีและวัฒนธรรม ได้แก่ เทคโนโลยี, การขนส่ง, การก่อสร้างและเทคโนโลยีอาคาร


| ภาพรวมกลไกการพัฒนาและการจัดการเมืองที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ

กลไกการเข้าสนับสนุนการดำเนินงานในระบบนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับชาติ, ระดับเมือง, และระดับท้องถิ่น ซึ่งในทุกระดับจะทำงานเกี่ยวเนื่องและสนับสนุนกัน


โดย

📌#นโยบายเมืองแห่งชาติ , #นโยบายที่ดิน , #นโยบายการพัฒนาชุมชนแออัด จะก่อให้เกิดนโยบายและแผนบูรณาการเชิงพื้นที่


📌#กฎหมายและขอบังคับของเมือง ก่อให้เกิดรูปแบบการปกครอง เป็นการกำหนดบทบาทรัฐบาลในการพัฒนาและการดำเนินการตามกฎหมาย


📌#การออกแบบชุมชนเมือง ก่อให้เกิดการวางแผนและออกแบบ เป็นการวางทิศทางในการใช้พื้นที่และระบบโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเมือง


📌#การเงินและงบประมาณของเทศบาล (รัฐบาลท้องถิ่น) ก่อให้เกิดการวางแผน จัดการด้านงบประมาณและทรัพยากรทางด้านการเงิน


📌#การปกครองเมือง ก่อให้เกิดกระบวนการการดำเนินงานที่ภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระดับชาติ, ระดับย่อย และระดับท้องถิ่น รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มาร่วมกันตัดสินใจวางแผนการจัดการร่วมกัน


| โครงการ Leaving No One Behind (LNOB)

คือโครงการภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ตามกรอบการพัฒนา SDGs และ NUA ซึ่งมุ่งเน้นที่คนเป็นศูนย์กลาง และสามารถเข้าถึงกลุ่มคน ‘ข้างหลัง’ หรือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคมประเภทต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็น เด็ก, เยาวชน, ผู้พิการ, ผู้สูงอายุ, ชนพื้นเมือง, ผู้ลี้ภัย, คนพลัดถิ่น, และคนอพยพ เป็นต้น

.

โดยทางทีมงาน Urban Studies Lab (USL) ได้มีโอกาสนำเสนอแผนบูรณาการโครงการนี้ ซึ่งอิงตามแนวทางการปฏิบัติของ NUA ผ่านความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (MSDHS), โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat) และการสนับสนุนทางการเงินจากกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา


| 3 จังหวัด พื้นที่นำร่อง

ในการจัดกิจกรรมบูรณาการโครงการ Leaving No One Behind (LNOB) นั้นทางทีมงาน Urban Studies Lab (USL) ได้มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการริเริ่มดำเนินโครงการ เพื่อออกแบบกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์และขอบเขตของโครงการ, จนถึงขั้นตอนการวางแผน ซึ่งได้ทำงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินกิจกรรมเชิงบูรณาการ โดยได้จัดกิจกรรมในพื้นที่นำร่องที่กำหนดไว้ตามแผนการดำเนินงาน เป็นต้น

.

ซึ่งการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างการเรียนรู้ต่อการจัดการที่อยู่อาศัยในเชิงนโยบายร่วมกันนั้น ได้ริเริ่มดำเนินการใน 3 พื้นที่จังหวัดนำร่อง ได้แก่

- จังหวัดสงขลา

- จังหวัดเชียงใหม่

- จังหวัดขอนแก่น

.

โดยมีจุดมุ่งหมาย

- เพื่อสร้างความเข้าใจในโครงสร้างนโยบายแผนที่อยู่อาศัยของจังหวัด

- เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

- เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และออกแบบแนวทางการพัฒนาสังคมภายใต้กรอบการพัฒนา SDGs


bottom of page