top of page

รวมกิจกรรมในโรงเรียนสตรีจุลนาค BANGKOK DESIGN WEEK 2024



ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมและเยี่ยมชมเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024)


ย่านนางเลิ้งได้ทำการนำเสนอการออกแบบต่อยอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในย่าน ผ่านการร่วมมือกันระหว่างเหล่านักออกแบบและคนในพื้นที่ เพื่อสื่อสารความเป็นนางเลิ้งในมุมมองใหม่ผ่านงานออกแบบ ให้นางเลิ้งนั้นเป็นย่านที่ “บันเทิงทุกวัน” ตลอดทั้ง 9 วัน กับพื้นที่จัดแสดงหลัก “โรงเรียนสตรีจุลนาค” โรงเรียนเก่าแก่ที่ก่อตั้งโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ผู้บุกเบิกการศึกษาสมัยใหม่ของไทย และ “บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี” ซึ่งทั้งสองสถานที่นี้ เป็นอาคารเก่าแก่ที่อยู่ร่วมกับชุมชนในย่านนางเลิ้งมาอย่างช้านาน


เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) ในครั้งนี้ ได้ปรับพื้นที่เก่า สู่การเป็นพื้นที่จัดแสดงผลงาน นิทรรศการ และงานออกแบบของคนรุ่นใหม่ รวมถึงเป็นพื้นที่กิจกรรมที่เปิดให้ผู้คนได้เข้ามาเรียนรู้ความเป็นนางเลิ้งถึง 25 โปรแกรม จากมากกว่า 10 นักสร้างสรรค์ ตลอดทั้งเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567


วันนี้ทางเราได้รวมรวมภาพบรรยากาศงานที่ทุกท่านสามารถเข้ามาร่วมสนุกได้ที่ "โรงเรียนสตรีจุลนาค" พื้นที่จัดแสดงหลักมาให้ได้ชมกัน



ซาวด์บาธ / ซาวด์-บาตร,

SoundBath / SoundBātr

ชุมชนบ้านบาตร คือชุมชนที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นแห่งหนึ่งในเขตพระนคร เป็นชุมชนที่ยังคงทำบาตรพระด้วยมือแห่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทย ผู้คนในชุมชนยังคงประกอบอาชีพที่ถูกถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำบาตรด้วยมือจากรุ่นสู่รุ่น เสียงจากการเคาะ ตัด หลอม โลหะเพื่อทำเป็นบาตรยังคงดังก้องกังวานอยู่ทั่วทุกย่างก้าวที่ได้เดินเข้าไปในชุมชน ซึ่งภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมนี้ ถือเป็นมรดกตกทอดที่อาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลาได้ โครงการ ซาวด์บาธ / ซาวด์-บาตร เกิดจากแรงบันดาลใจที่ได้จากเสียงของบาตรที่ก้องกังวานไปทั่วทั้งย่าน จึงอยากจะเก็บเสียงที่เกิดจากบาตรแต่ละประเภทที่ชุมชนได้ทำจากน้ำพักน้ำแรง มาออกแบบและสร้างเป็นสื่อมีเดียรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีที่ได้แรงบันดาลใจจากเสียงบาตร ประสบการณ์ ASMR หรือเสียงเพื่อการทำสมาธิและผ่อนคลายอย่างการทำ Sound bath เพื่อให้คนที่อาจจะไม่เคยได้รู้จัก พบเจอหรือเข้ามาในชุมชนได้รู้จักผ่านเสียงที่เกิดขึ้นทุกวันในย่านนี้


จัดแสดงผลงาน โดย

Urban Studies Lab x SYNAP



นางเลิ้ง รื่นเริง ไม่เลือนราง

Nang Loeng: Never fading Ever lasting

นางเลิ้ง รื่นเริง ไม่เลืองราง จะพาทุกคนหวนสู่ความรื่นเริงจากย่านบันเทิงเก่าผ่านตั๋วกระดาษที่เป็นตัวกลางสู่ความบันเทิงและโชว์เรื่องราวประวัติศาสตร์อันน่าจดจำของย่านนางเลิ้ง ด้วยประสบการณ์ผ่านแสง สี และเสียงรวมด้วยกราฟิกที่ดัดแปลงเสน่ห์จากยุครุ่งเรือง เพื่อให้คนต่างรุ่น ได้สัมผัสกลิ่นอายความสนุกสนานของย่านนี้ร่วมกัน


นักสร้างสรรค์:

XD49


จัดแสดงผลงาน โดย

ดลฤทธ อิทธิพลไพศาล

ชนัญชิดา อารยอสนี

สโรชา ลิ้มสวัสดิ์

ศุภากร กิจวัฒนชัย

จุลณัฐ สวาวสุ

แอนน์ชิสา วัฒนอุดมศิลป์

นัทพล โกมลารชุน

บุญญรักษ์ แก้วกิริยา


สถาบันการศึกษา

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ)

CommDe จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




USL'S JOURNEY

นิทรรศการรวบรวมผลงานของศูนย์วิจัยชุมชนเมือง

ศูนย์วิจัยเขาทำอะไรกันบ้างนะ? แต่ที่ Urban Studies Lab หรือศูนย์วิจัยชุมชนเมือง เราทำอะไรหลายอย่างในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาฐานข้อมูล กิจกรรมกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน การสร้างผลิตภัณฑ์จากงานออกแบบและงานวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ จะออกมาเป็นอะไรบ้าง อยากให้ทุกท่านได้เข้ามารับชม นิทรรศการนี้อาจเปลี่ยนมุมมองของคำว่า 'ศูนย์วิจัย' ของทุกท่านไปเลยก็ได้!


จัดแสดงผลงาน โดย

Urban Studies Lab




กระดาน HUNT! ล่าร้านอร่อย นางเลิ้ง

โครงการ Nang Leong Menu เป็นโครงการออกแบบรูปเล่มรายการอาหารย่านนางเลิ้งที่คัดสรรเมนูเด่น ๆ ของแต่ละร้านอาหารในชุมชนทั้งร้านเก่าและร้านใหม่มารวมกันในเล่มเดียว เพื่อนำไปสู่การขับเน้นตัวตนและอัตลักษณ์ของชุมชนนางเลิ้ง โดยเฉพาะวิถีชีวิตด้านอาหารให้มีความชัดเจน สามารถจับต้องได้ มีการเข้าถึง และมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้นผ่านงานออกแบบและงานศิลปะในงาน Bangkok Design Week 2023


หลังจากที่ได้จัดแสดงไปเมื่อครั้งที่แล้ว จึงได้เข้าไปสอบถามความคิดเห็นด้านการใช้งานและแนวทางการพัฒนาชิ้นงานต่อไป พบว่าได้รับความคิดเห็นว่าส่งผลกระทบเชิงบวกต่อร้านค้าขนาดเล็กในย่าน ให้เป็นที่รู้จักได้มากขึ้น


ดังนั้น ในปีนี้เพื่อส่งต่อเรื่องราวอาหารในย่านนางเลิ้งให้ไปสู่สายตาของผู้คนที่ไม่เคยได้รู้จักนางเลิ้งมากขึ้น จึงพัฒนา "กระดาน HUNT! ล่าร้านอร่อย นางเลิ้ง" กระดานนำเที่ยวชุมชนผ่านอาหารในย่านนางเลิ้งฉบับง่าย ๆ เพื่อให้ใช้ควบคู่กับ"สำรับนางเลิ้ง" ในการจัดเส้นทางการเดินชมย่านผ่านเมนูที่สนใจได้ด้วยตัวเอง โดยฉบับทดลองใช้งานนำเสนอใน Bangkok Design Week 2024 เพื่อเก็บข้อมูลและความคิดเห็นจากการใช้งาน และพัฒนาเป็นแบบจริง รวมถึงต่อยอดเพื่อให้เป็นชุด Guide book ประจำย่านที่สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนในอนาคต


จัดแสดงผลงาน โดย

Urban Studies Lab




Interactive Nang Loeng community Karaoke

การที่มีผู้คนมากมายอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันย่อมเกิดการทะทบกระทั่งกันในเรื่องของเสียงที่หลากหลายจากกิจกรรมประจำวันของผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้น ๆ งาน interactive community karaoke เป็นงานที่ต้องการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนนางเลิ้งมาร่วมกันร้องเพลงเพื่อสร้างเสียงที่ไพเราะน่าฟังร่วมกันซึ่งจะตรงกันข้ามกับเสียงรบกวนในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ผู้ออกแบบนั้นใช้ความดังของจุดตั้ง microphone ในตำแหน่งที่ต่าง ๆ มาสร้างลวดลายแสงสีที่ส่องลงบนลานกลางแจ้งเพื่อสร้าง awareness ของการกระทบกระทั่งของเสียงให้ผู้ที่มาเยือนงาน installation นี้ได้เข้าใจผ่านการร้องเพลง


จัดแสดงผลงาน โดย

KIMBAB:)



เฟอร์นิเจอร์อัปไซเคิลจากขยะพลาสติก

Precious Plastic Bangkok คือกลุ่มคนที่ต้องการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรและความรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิลในการทำงานกับชุมชนเป็นหลัก ในครั้งนี้เราต้องการจะบอกเล่าเรื่องราวของเรา และชุมชนนางเลิ้ง ย่านเก่าที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม การผสมผลานวัฒนธรรมและการใช้สีสันที่โดดเด่น PPB จึงเลือกนำเสนอเฟอร์นิเจอร์อัปไซเคิลจากขยะพลาสติกโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสีสันของย่านนางเลิ้ง นอกจากความสวยงามของสีสัน เรายังสะท้อนแนวคิดเรื่องความคงทนของขยะพลาสติก ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของพลาสติก และเป็นปัญหาหลังการบริโภคแล้วเช่นกัน เพื่อให้ทุกคนได้เห็นทั้งประโยชน์และปัญหาของมันพร้อมกัน นอกจากนี้เราจะเปิดโรงรีไซเคิลของ PPB ให้คนทั่วไปได้เข้ามาลองทำสินค้าอัปไซเคิลที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย


โครงการสีสันนางเลิ้ง นี้จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่อยากบอกเล่าเรื่องราวของนางเลิ้ง จากความเชี่ยวชาญเรื่องการรีไซเคิลพลาสติกผ่านการออกแบบสิ่งของที่ชุมชนนั้นใช้งานประจำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เก้าอี้ม้านั่ง หรืออุปกรณ์เสี่ยงเซียมซีในศาลเสด็จเตี่ยที่ทุกคนในย่านนางเลิ้งนั้นศรัทธาและนับถือ เพื่อเชื่อมโยงและชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในเพิ่มมูลค่าและเปลี่ยนสิ่งที่เป็นขยะให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ชุมชนนางเลิ้ง รวมไปถึงผู้ประกอบการร้านค้าในนางเลิ้งเอง ที่จะมีแรงจูงใจในการร่วมกันแยกขยะและสร้างแรงบันดาลใจในการนำขยะพลาสติกไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างไม่รู้จบ


จัดแสดงผลงาน โดย

Precious Plastic Bangkok


สำหรับโปรแกรมที่จะเกิดขึ้นที่ FREC Bangkok

1) เปิดโรง(รีไซเคิล) เปิดใจ(รักษ์สิ่งแวดล้อม)

2) Workshop แยกฝา พาเพลิน

3) Workshop ฝาแปลงร่าง


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/PreciousPlasticBKK



Scrawl เส้นสมมติ

ทางผู้ออกแบบผลงานเห็นว่า สถานที่บริเวณที่ใช้ในการจัดแสดงมีประวัติที่น่าสนใจในด้านสื่อพิมพ์ จากการเดินสำรวจรอบ ๆ สถานที่จัดงานซึ่งมีร้านหนังสือและ ร้านรับพิมพ์เอกสารต่างกระจายอยู่โดยรอบสถานที่ จึงมีความคิดเห็นว่า ถ้าเรามอบกระดาษใบนึงให้กับผู้คน เขาจะเขียน, วาด, ละเลง หรือ แสดงความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่ภายในตัวของผู้เข้าร่วมออกมาแบบไหน


นักสร้างสรรค์:

ม๊าเดี่ยว - อภิเชษฐ์ เอติรัตนะ


จัดแสดงผลงาน โดย

สุทธิดา สุวรรณรัตน์

ธัญวรัตน์ ณ วงค์

เจณิษา เด่นสิริมงคล

หวันยิหวา เป็งเมืองลอง

ณิชชาภัทร กาฬภักดี

พีรพันธุ์ สกุลสันติธรรม

บรรณพร อุบลแสน

สุภัคจิรา เกณฑ์ขุนทด

สหัสวรรษ ยุวธานนท์

กายเกล้า คุณเจริญ

Than Thar Lin


สถาบันการศึกษา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี



ลาน-รื่น-เลิ้ง

Lan-Ruen-Loeng

“ย่านนางเลิ้ง” ย่านการค้าแห่งแรกของไทย และแหล่งรวมด้านความบันเทิงที่มีชื่อเสียงในอดีตเมื่อ 60 ปีที่แล้ว หนึ่งในสถานที่ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ บ้านเต้นรำ หรืออีกชื่อคือ “โรงเรียนสามัคคีลีลาศ” บ้านไม้ที่เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยก่อนจะกลายเป็นโรงเรียนลีลาศในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สถานที่ยอดนิยมที่เคยเป็นแหล่งรวมของหนุ่มสาวที่มาเต้นรำพบปะสังสรรค์เข้าสังคมตามกระแสนิยม บ้านเต้นรำโรงเรียนสอนเต้นที่ไม่ว่าข้าราชการ นักธุรกิจ ศิลปินชื่อดังมากมาย เช่น สุรพล โทณะวนิก เจ้าของเพลงชื่อดังอย่าง “ใครหนอ” ก็มาเต้นที่บ้านเต้นรำหลังนี้มาแล้ว


“ลาน-รื่น-เลิ้ง” เป็นพื้นที่สะท้อน "การมีอยู่ของบ้านเต้นรำ" ที่เคยเป็นที่รู้จักของคนในย่านและคนที่ชื่นชอบในการเต้นรำ ถ่ายทอดเรื่องราวการเต้นรำในช่วงปี พ.ศ.2494 ผ่านมิติของปัจจุบันโดยการนำ องค์ประกอบต่างๆ (Element) ของบ้านที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัยที่วัฒนธรรมตะวันตกมีความแพร่หลายในประเทศไทยมาแยกองค์ประกอบโดยใช้เทคนิครื้อสร้าง(Deconstruction) เกิดเป็นพื้นที่รูปแบบใหม่ที่นำมาสร้างความคึกคัก(Vibe) สนุกสนานเพลิดเพลินจนเป็น “ลาน+รื่น(เริง)+(นาง)เลิ้ง” ลานเต้นรําลีลาศบนดาดฟ้าโรงเรียนสตรีจุลนาค จะเป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้กลับมาร่วมเต้นรำ “Dancing in the moonlight“ และจะมีการสอนเต้นลีลาศให้เหล่าหนุ่มสาวยุคใหม่ แล้วมาพบปะสังสรรค์กันที่ “ลาน-รื่น-เลิ้ง”


นักสร้างสรรค์:

ชยนพ บุญประกอบ


จัดแสดงผลงาน โดย

พิมลดา พงศ์พิสุทธิโกศล

ฐิติยามลณ์ กอนวงษ์

จินต์จุฑา จุขุนทด

พิมพ์มาดา ธนะสิทธ์

อิสรีย์ มองทัง

ธีรภัทร ศรีประเสริฐ

เกวลิน วงษ์เสงี่ยม

โยษิตา แย้มนวล

ปนัดดา เหลืองอักษร

ณัฐนันท์ ไตรเวช


สถาบันการศึกษา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต




โต๊ะกินข้าวนอกบ้าน

ให้ผู้คนทั่วไปในเมืองใหญ่ได้พบปะพูดคุยกัน เพื่อสร้างสังคมใหม่ๆ และลดปัญหาภาวะความโดดเดี่ยวในสังคม ผ่านการใช้พื้นที่สาธารณะที่เรียกว่า “โต๊ะกินข้าวนอกบ้าน” ซึ่งจะเป็นพื้นที่ ที่คนจะได้มาเจอกันผ่านการทานอาหาร และนอกจากผู้คนจะได้มาทานอาหารร่วมกันในพื้นที่สาธารณะแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะอาหารผ่านเมนูที่เรามอบให้ ผ่านการปรุงอาหารจาก อาหารส่วนเกินที่นำมาปรุงให้เป็นเมนูใหม่


โดย

SCHOLARS OF SUSTENANCE FOUNDATION


ตารางเวลา

เสาร์ 27 ม.ค. 2567 18:00 - 21:00

อาทิตย์ 28 ม.ค. 2567 18:00 - 21:00

จันทร์ 29 ม.ค. 2567 18:00 - 21:00


ค่าใช้จ่าย (บาท): 400
จำนวนที่รับ (คน): 30

- ผู้ที่เข้าร่วมต้องทำการแยกขยะในถังที่เตรียมไว้ในบริเวณ และเข้าพื้นที่ได้ในเวลา 18:00 - 21:00 น.เท่านั้น - จำกัดการเข้าร่วมวันละ 10 ท่านครับ




Whispering of nobodies

เป็นผลงานการออกแบบ เพื่อบอกเล่าและเป็นกระบอกเสียงให้กลุ่มคนเปราะบางที่ประสบปัญหากับการหมดเงินไปกับค่าอาหาร จนไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ส่งผลให้เกิดความเครียด และไม่สามารถใช้เงินเพื่อผ่อนคลายได้ ถ้าวันหนึ่งพวกเขาไม่ต้องกังวลเรื่องค่าอาหาร พวกเขาอยากจะทำอะไรกัน


โดย

SCHOLARS OF SUSTENANCE FOUNDATION




จักรวาลกล้วยเเขก

จักรวาลกล้วยเเขก การนำกล้วยเเขกของชึ้นชื่อนางเลิ้งนำมาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ โดยการนำจุดเด่นของถุงกล้วยเเขกของเเต่ละร้านมานำเสนอในรูปเเบบของการทำกิจกรรมออกเเบบลวดลายเเละลงสีถุงกล้วยเเขกให้สามารถนำมาประกอบกันเป็นภาพของย่านโดยมีการใช้สีของนางเลิ้งที่เป็นจุดเด่น ทำให้ผู้ทำกิจกรรมได้ถ่ายทอดบรรยากาศของนางเลิ้งผ่านถุงกล้วยเเขก


นักสร้างสรรค์:

Cloud-floor


จัดแสดงผลงาน โดย

ชาคริส ปานเหลือง

พิศณุวัฒณ์ อินทสันต์

ผกามาศ ช่วยสุข

วัชราภรณ์ กวยกือ

สิปปภาส บุญญาอรุณเนตร

วุฒิชัย พลายมูล


สถาบันการศึกษา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์



COMMUNITY VIBE

COMMUNITY LAB ร่วมมือกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย เครือข่ายสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติสมาชิกสหภาพยุโรป

(EUNIC) วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยศิลปากร (SUIC) SATI SPACE และ

ชุมชนท้องถิ่น


COMMUNITY VIBE เป็น PROJECT ที่เชื่อมช่องว่างระหว่างชุมชนและเทศกาล

ผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือนศิลปินท้องถินและความเป็นไปได้ใหม่ๆในงานศิลปะร่วมสมัย

เป้าหมายของเราคือการสร้างเทศกาลที่มีชีวิตชีวา ครอบคลุม ทั่วถึง และ

ยั่งยืนซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับทุกคนในระหว่างระยะเวลา

จัดงาน 1 สัปดาห์แต่ยังก่อให้เกิดกระแสความคิดสร้างสรรค์ที่ดําเนินต่อไปตลอด

ทั้งปีคลื่นลูกนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อเทศกาลเท่านั้นแต่ยังช่วยกระตุ้น

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในท้องถินและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่

สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านแนวปฏิบัติหลัก 3 หัวข้อ คือ

LOCAL STUDIO, COMMUNITY {ART} LAB และ EXHIBITION


ไฮไลท์ของกิจกรรม

• พิธีเปิด: วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

• เดินทัวร์ชุมชน: วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 เดินเที่ยวชมชุมชนนางเลิ้ง

สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนผ่านการเดินสํารวจชุมชนรวมทั้งเยี่ยมชม COMMUNITY {ART} LAB

• ผลงานนิทรรศการ ARTECH – IMAGINING OUR FUTURE (2.0) ที่ถูกจัดแสดงที่ BANGKOK 1899, สวนจักรพรรดิ, มิตรสเปซ, บ้านนางเลิ้ง (บ้านศิลปะ), โรงเรียนสตรีจุลนาค, ตรอกละครชาตรีและศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (FREC)


โดย

Community Lab


ทั้งหมดนี้เป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของย่านนางเลิ้งเท่านั้น สามารถติดตามกิจกรรมอื่น ๆ ได้ที่


แผนที่ย่านนางเลิ้งบันเทิงทุกวัน

BANGKOK DESIGN WEEK 2024, 27 JAN–4 FEB



#ย่านนางเลิ้ง

#นางเลิ้งบันเทิงทุกวัน

122 views0 comments

Comments


bottom of page